วันศุกร์ที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2554

ความรู้ที่ถูกปิดกั้น



ธรรมดาของจิตก็ต้องคิดนึก
พอรู้สึกจิตต้น พ้นโหยหวน
เงียบสงัดจากเรื่อง เครื่องรบกวน
รู้เท่าที่ไม่เที่ยง จิตต้น พ้นริเริ่ม
รู้ต้นจิตพ้นจากผิดทั้งปวงไม่ห่วง
ถ้าออกไปปลายจิต ผิดทันที
ธรรมดาสังขารปรากฎหมดด้วยกัน
เสื่อมทั้งนั้นคงที่ ไม่มีเลย
ระวังใจเมื่อจำทำละเอียด
มักจะเบียดให้จิต ไปติดเฉย
ใจไม่เที่ยงของใจซ้ำให้เคย
เมื่อถึงเอยหากรู้เองเพลงของใจ
รู้ต้นจิต จิตต้น พ้นโหยหวน
ต้นจิตรู้ตัวแน่ว่าสังขารเรื่องแปรปรวน
ใช่กระบวนไปดูหรือรู้อะไร
รู้จิตต้นปัจจุบันพ้นหวั่นไหว
ดีหรือชั่วทั้งปวงไม่ห่วงใย
ต้องดับไปทั้งเรื่อง เครื่องรุงรัง
อยู่เงียบๆต้นจิตไม่คิดอ่าน
ตามแต่การของจิตสิ้นคิดหวัง
ไม่ต้องวุ่นต้องวายหายระวัง
นอนหรือนั่งนึกพ้นอยู่ต้นจิต
-- ขันธวิมุตติ --
__________________

กิเลสอันไหนเกิดก่อนให้ละอันนั้นก่อน
......................................
ความรู้ถูกปิดตัน หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน

--------------------------------------------------------------------------------

เทศน์อบรบคณะครูอาจารย์และนักศึกษา

ณ วิทยาลัยครูอุดรธานี อ.เมือง จ.อุดรธานี


เมื่อวันที่ ๖ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๑๕



ความรู้ถูกปิดตัน


วันนี้ เป็นโอกาสวาสนาอำนวย อาจารย์และท่านทั้งหลายได้มาพบกันในวันนี้
ตามปกติก็ไม่ค่อยมีเวลา เฉพาะวันนี้เป็นโอกาสอันดี
จึงได้มาพบกับท่านทั้งหลายซึ่งมีความประสงค์อยากจะพบอยู่เป็นเวลานานแล้ว
เนื่องจากท่านทั้งหลายก็เป็นพุทธศาสนิกชนผู้หนึ่งในพระพุทธศาสนาซึ่งแยกกัน
ไม่ออก เป็นมาตั้งแต่ปู่ย่าตายายของเราจนกระทั่งบัดนี้
แล้ววันนี้จะเรียนให้ท่านทั้งหลายทราบตามกำลังความสามารถ
และตามนิสัยของพระป่าดังที่ได้เคยเรียนมาอยู่เสมอ
ในหัวข้อที่ยกขึ้นนั้นว่า ความรู้ถูกปิดตัน
นี่เป็นหัวข้อที่จะแสดงให้ท่านทั้งหลายทราบในวันนี้
และก่อนที่จะบรรยายธรรมทั้งหลายจึงขออภัยจากทุกๆ ท่าน
มีท่านผู้อำนวยการเป็นต้นไว้ก่อนว่า
หากว่ามีการขัดข้องในสำนวนโวหารหรืออรรถธรรมใดๆ ก็ดี
หวังว่าจะได้รับอภัยจากท่านทั้งหลายโดยทั่วกัน


ท่าน นักศึกษาทั้งหลายเวลานี้ท่านทั้งหลายกำลังเจริญ
คือกำลังจะเจริญทั้งวัยคืออายุ ทั้งความรู้วิชา
และเป็นผู้กำลังมีคุณค่าน่าสนใจในวงการและบุคคลทั่วๆ ไป
ก้าวนี้เป็นก้าวแรกของเราที่จะนำตัวไปสู่ความเจริญรุ่งเรือง
การจะนำตัวไปสู่ความเจริญรุ่งเรืองได้นั้นต้องอาศัยการศึกษาเล่าเรียน
การอบรม หากไม่ได้รับการศึกษาเล่าเรียนและการอบรมพอสมควรแล้ว
ความมุ่งหมายของเราที่ตั้งไว้อาจล้มเหลวไปก็ได้
เพราะฉะนั้นการศึกษาจึงเป็นสิ่งจำเป็น
กับความประพฤติที่จะเป็นไปในแนวแห่งความศึกษานั้นเป็นสิ่งที่แยกกันไม่ออก
เมื่อเราต้องการความสุขความเจริญอยู่
ฉะนั้นคำว่าการศึกษานี้จึงเป็นสิ่งจำเป็นในเราทุกท่านทั้งทางโลกและทางธรรม


การ ศึกษาทางโลกดังที่ท่านทั้งหลายได้ศึกษามาพอสมควร
ซึ่งกำลังศึกษาอยู่เวลานี้เป็นการศึกษาแขนงหนึ่ง
การศึกษาทางด้านศาสนาเกี่ยวกับความประพฤติหน้าที่การงานให้เป็นไปเพื่อความ
เรียบร้อยไม่ผิดพลาดนั้น จัดว่าเป็นการศึกษาประเภทหนึ่ง การศึกษาทั้ง ๒
ประเภทนี้ เป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับเราด้วยกัน
แต่จะขออธิบายถึงเรื่องการศึกษาในทางพระพุทธศาสนาให้ท่านทั้งหลายทราบพอ
สมควร ศาสนาท่านสอนให้บุคคลเป็นคนดี
ถ้าจะเทียบก็เหมือนกับเครื่องประดับประดาหรือเครื่องตกแต่งให้มีความสวยงาม
ขึ้นในบุคคลแต่ละคนๆ ถ้าเป็นทางก็เรียกว่า
ทางที่ตรงแน่วไปสู่ความสุขความเจริญ นี่เรียกว่าศาสนาคือคำสั่งสอน
สอนให้บุคคลเป็นคนดี


ท่าน ผู้มีความหวังต่อความสุขความเจริญ
เรื่องศาสนาจึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง
ที่ท่านทั้งหลายจะต้องศึกษาให้เข้าใจ
คำว่าศาสนาคือคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า
พระพุทธเจ้านั้นไม่ใช่เป็นคนธรรมดาเหมือนเราๆ ท่านๆ แต่เป็นคนพิเศษคือ
ความประพฤติก็พิเศษ ความรู้วิชาก็พิเศษ การรู้ก็รู้พิเศษ
จิตใจของพระพุทธเจ้าก็เป็นจิตใจที่พิเศษจากจิตใจสามัญชนทั่วๆ ไป
เมื่อมาเป็นศาสดาแล้วจึงเป็นบุคคลพิเศษ
ธรรมคำสั่งสอนที่ท่านชี้แจงแสดงออกแต่ละบทละบาท นับแต่ธรรมขั้นต้น
ท่ามกลางและที่สุด ล้วนแล้วแต่เป็นธรรมพิเศษที่เรียกว่า สวากขาตธรรม
คือธรรมที่ตรัสไว้ชอบแล้ว


การ ที่จะได้ทรงนำธรรมมาตรัสให้ชอบนั้น
เนื่องจากพระพุทธองค์เป็นผู้ปฏิบัติมาชอบแล้วทุกประการ
ความรู้จึงเป็นความรู้ที่ชอบ
เมื่อแสดงออกเป็นศาสนาจึงเป็นศาสนาที่ชอบสมนามว่าเป็นสวากขาตธรรม
แปลว่าธรรมที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ชอบแล้ว
นิยยานิกธรรมเป็นธรรมที่จะนำบุคคลผู้ประพฤติปฏิบัติตามนั้นให้พ้นจากความ
ทุกข์ความวุ่นวายโดยลำดับ จนกระทั่งถึงความสุขอันเป็นบรมสุขที่เรียกว่า
นิพพานหรืออรหัตอรหันต์
ล้วนแล้วตั้งแต่ออกจากสวากขาตธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงแนะแนวทางให้ทั้งนั้น


ทาง ที่จะไปสู่ความสุขความเจริญในภาคทั่วๆ ไปนี้
เราพอจะนำมาแสดงหรือชี้แจงให้กันทราบได้ หรือพอจะปฏิบัติได้
แต่ทางที่จะให้ถึงความสุขอันเป็นบรมสุขคือ มรรคผลนิพพานนั้น
มีพระพุทธเจ้าเพียงองค์เดียวเท่านั้นเป็นพระองค์แรก
ที่จะนำสัตว์ทั้งหลายหรือแนะนำสัตว์ทั้งหลายให้เข้าใจในวิถีทางเดินเพื่อ
ธรรมอันบริสุทธิ์นั้น นอกนั้นไม่มีใครสามารถจะแสดงได้
เพราะฉะนั้นพระพุทธเจ้าจึงควรทรงพระนามว่าเป็นบุคคลพิเศษ
และสมควรเป็นสรณะของพวกเราทั้งหลาย


ดังที่ได้เคยเปล่งวาจาถึงท่านเสมอ ตลอดถึงความระลึกถึงพระคุณท่านทางใจ
ว่า พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ
ข้าพเจ้าขอถึงซึ่งพระพุทธเจ้าว่าเป็นสรณะที่พึ่งที่ระลึกทางใจ ธมฺมํ สรณํ
คจฺฉามิ ข้าพเจ้าขอถึงซึ่งพระธรรม สงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ
ข้าพเจ้าขอถึงซึ่งพระสงฆ์ พระพุทธเจ้าก็ดี พระธรรมก็ดี พระสงฆ์ก็ดี ทั้ง
๓ รัตนะนี้เป็นธรรมชาติที่พิเศษจากสิ่งทั้งหลาย บรรดาที่เป็นสมมุติในโลก
ไม่มีสมมุติใดๆ จะประเสริฐเสมอเหมือนสรณะทั้ง ๓ นี้ได้


พระ พุทธเจ้าก่อนที่จะได้เป็นบรมศาสดา
ตรัสรู้มรรคผลนิพพานถึงกับเป็นครูสอนโลก ท่านก็เป็นคนธรรมดาเหมือนเราๆ
ท่านๆ นี่เอง คือเป็นคนมีกิเลสตัณหาอาสวะอยู่ภายในใจ
การปฏิบัติพระองค์แต่ละครั้งแต่ละประโยค
ต้องเป็นการฝืนพระองค์และฝืนกิเลส สิ่งที่ชั่วช้าอยู่ภายในใจอย่างมากมาย
ถึงกับบางครั้งต้องสลบไสล ถ้าหากว่าไม่ฟื้นก็เรียกว่าตาย
นี่พระพุทธองค์ท่านทรงฟื้นกลับมาเรียกว่า สลบถึง ๓ ครั้งแล้วฟื้นถึง ๓ หน
การที่สลบไสลไปถึงขนาดนั้น ถ้าไม่ทุกข์ถึงขนาดควรจะสลบเราจะสลบได้อย่างไร
ก็ต้องเป็นธรรมดา


นี่ เรียกว่าฝืนทุกข์ฝืนความลำบากฝืนกิเลสตัณหาฝืนสิ่งที่เป็นข้าศึก
เพื่อจะให้ผ่านพ้นไปได้ด้วยความฝึกความทรมาน ด้วยความอดความทน
ด้วยความพากความเพียร
พูดถึงประโยคพยายามก็ไม่มีใครจะเทียมเท่าเสมอพระองค์ได้
คือความเพียรก็เยี่ยม ความอดทนก็เยี่ยม ทุกสิ่งทุกอย่างเยี่ยม
สติปัญญาก็เยี่ยม เมื่อได้ทำทุกสิ่งด้วยความเยี่ยมๆ แล้ว
ผลที่พระองค์พึงได้รับก็คือ ความบริสุทธิ์วิมุตติพระนิพพาน
กลายเป็นบุคคลที่เยี่ยมขึ้นมาในโลก
เราทั้งหลายจึงได้ยอมรับเป็นสรณะเป็นที่เคารพนับถือ
ถ้าหากเป็นคนธรรมดาใครจะไปเปล่งวาจาถึง พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ เล่า
ก็เพราะพระพุทธเจ้าไม่ใช่บุคคลธรรมดา นี่เป็นประโยคแรก


ธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิ คำว่าธรรมนั้นเป็นธรรมชาติที่บริสุทธิ์
เป็นธรรมชาติที่ประเสริฐ ทรงแสดงออกจากพระทัยของพระพุทธเจ้าผู้บริสุทธิ์
กลายเป็นนิยยานิกธรรม
และเป็นสวากขาตธรรมออกมาให้เราทั้งหลายได้ประพฤติปฏิบัติ คำว่า สงฺฆํ
สรณํ คจฺฉามิ เบื้องต้นก็คือบุคคลธรรมดาสามัญเช่นเราๆ ท่านๆ นี้แล
แต่เมื่อได้ทำความอุตส่าห์พยายามตามธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนไว้
ด้วยความพากเพียรไม่ละ
ก็สามารถได้บรรลุถึงธรรมที่บริสุทธิ์ได้ตามเสด็จพระพุทธเจ้าทัน
เรียกว่าสำเร็จมรรคผลนิพพานขึ้นมา เป็นสรณะองค์ที่ ๓ ที่เรียกว่า สงฺฆํ
สรณํ คจฺฉามิ


เหตุ แห่งการดำเนินของท่านเหล่านี้ ท่านดำเนินด้วยความยากลำบาก
ความฝืนตนอย่างมากมาย ถ้าไม่ยอมฝืนเสียบ้าง
ก็จะไม่เป็นบุคคลพิเศษขึ้นมาได้ เพราะฉะนั้นเราทั้งหลายกรุณานำคำว่า ฝืนๆ
นี้เข้ามาปฏิบัติต่อตนเอง สิ่งใดที่เป็นไปด้วยความชอบ ความอยาก
เป็นไปด้วยตามอัธยาศัยไม่ได้ฝืนนัก
โดยมากสิ่งนั้นจะพาให้เราไปในทางต่ำเสมอ แต่สิ่งใดที่เราฝืน
การทำความฝืนใจ ดังพระพุทธเจ้าและสาวกท่านฝืนมาแล้ว
เป็นความชอบธรรมเป็นทางที่จะนำมาซึ่งความสุขความสงบแก่เราทั้งหลายได้
จึงควรฝืนตน


คือ ฝืนในสิ่งที่เห็นว่าไม่ดี ฝืนไม่ทำในสิ่งที่จะให้โทษแก่ตัวของเรา
เช่นเราจะไปอะไร การไปนั้นมีความเสียหายอย่างไรบ้าง เมื่อไปแล้ว
การทำเช่นนั้นมีความเสียหายเกิดขึ้นอย่างไรบ้าง เมื่อทำแล้ว
และการคิดในสิ่งนั้นๆ เมื่อคิดแล้วจะเกิดความเสียหายแก่ตนอย่างไรบ้าง
เมื่อใคร่ครวญดีแล้วเห็นว่าควรฝืนเราก็ฝืน ไม่ไป ฝืนไม่ทำ
ฝืนไม่คิดสิ่งที่ให้โทษนั้นต่อไป นี่เรียกว่าเป็นความฝืนที่ชอบธรรม
ระหว่างความชั่วกับความดีรบกันหรือฝืนกันนั้น
นักปราชญ์ทั้งหลายท่านเคยรบท่านเคยฝืนกันมาอย่างนี้
แล้วก็ได้ชัยชนะจากการฝืนตนมาโดยลำดับ
จนปรากฏเป็นศาสดาของพวกเราทั้งหลายอยู่ ณ บัดนี้


ท่าน ดำเนินด้วยวิธีฝืน ท่านไม่ให้เป็นไปตามความชอบใจเสียทุกอย่าง
เพราะความชอบใจโดยมากเป็นไปในทางต่ำ
และเคยฝังอยู่ในนิสัยของเรามาเป็นเวลานาน เพราะฉะนั้นการแสดงออกทุกอย่าง
จึงชอบแสดงออกตามนิสัยของตนที่เป็นความต่ำทรามเสมอ
นี่เป็นหลักที่เราจะควรนำมาคิดและนำไปปฏิบัติต่อตนเองว่าควรฝืน
สิ่งที่เห็นว่าเป็นประโยชน์แต่ไม่อยากทำ ไม่อยากประกอบ ไม่อยากไป
ไม่อยากคิด สิ่งนั้นก็ควรฝืนให้ทำ ฝืนให้พูด ฝืนให้คิด เพราะทำ เพราะพูด
เพราะคิดแล้วเป็นประโยชน์แก่เรา การพูดในการฝืนนี้
ดังอาจารย์ที่มาแสดงธรรมให้ท่านทั้งหลายฟังอยู่ ณ บัดนี้
ก็ได้พยายามฝืนตนมาเป็นลำดับ


นับ ตั้งแต่วันก้าวเข้าวัดวันแรกจนกระทั่งถึงบัดนี้ การบวช
ใจไม่อยากจะบวช คือความอยากบวชนี้ไม่ค่อยมี
แต่ความอยากสิ่งอื่นซึ่งเป็นข้าศึกต่อความดีนั้นมีอยู่มากมายภายในใจ
ใจชอบจะไปในทางนั้น แล้วก็พยายามฝืนตนมาจนถึงกับได้บวช
บวชแล้วการเรียนก็ขี้เกียจ ต้องฝืนเรียนไปโดยลำดับ
ความเกียจคร้านรู้สึกว่ามีมาก คล่องแคล่วภายในใจ
แต่สิ่งใดที่จะเป็นประโยชน์ความเกียจคร้านยิ่งมีมาก
สิ่งที่จะเป็นโทษความอยากทำ อยากพูด
อยากคิดในสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์โดยถ่ายเดียวของเราเป็นอย่างนี้


จึง ได้พยายามฝืนตนมาเป็นลำดับ เวลาเรียนก็ต้องฝืนเรียน
แล้วฝืนความประพฤติที่เห็นว่าเป็นข้าศึกต่อตัวเอง และต่อตนเองทุกด้าน
พยายามฝืนตลอดมา
สิ่งใดที่ขัดข้องต่อหลักของพระธรรมวินัยที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้ทรงห้าม
ไว้ พยายามฝืนตน และทางใดที่พระองค์ทรงบัญญัติเปิดให้เดิน
แม้ไม่อยากเดินก็พยายามฝืนเดินไปโดยลำดับ ที่เรียกว่า
ประพฤติตามหลักพระธรรมวินัย นี่พยายามฝืนตนตลอดมา


เวลา ออกเที่ยวกรรมฐาน ที่เรียกว่าวิปัสสนาหรือเรียกว่า
เที่ยวธุดงคกรรมฐาน ไปอยู่ตามป่าตามเขาก็ฝืนไปทั้งๆ ที่กลัว
สถานที่ใดที่ชาวบ้านเขาบอกว่ามีอันตรายเช่น มีเสือ หมีเป็นต้นชุม
สถานที่นั้นธรรมชอบ แต่หัวใจของเราไม่ชอบ เมื่อไปอยู่ในสถานที่เช่นนั้น
จิตใจมีความเจริญคือธรรมะเจริญ กิเลสค่อยเสื่อมตัวลงไป แต่จิตใจไม่อยากไป
จำต้องฝืนให้ไป คือบังคับให้ไป สถานที่ใดกลัวมาก สถานที่ใดอดอยากขาดแคลน
เรื่องของกิเลสไม่อยากไปเพราะกลัวจะลำบาก กลัวจะกลัวบ้าง
กลัวจะเป็นทุกข์บ้าง กลัวจะตายบ้าง
นี่เป็นเรื่องของกิเลสคอยฉุดลากเราอยู่เสมอ


แต่ เรามีความรักธรรม มีความมุ่งหมายต่อธรรม มีความมุ่งมั่นต่อธรรม
จำเป็นระหว่างกิเลสกับธรรมหรือกิเลสกับเราก็ต้องฝืนกัน
คือฝืนไปอยู่ในที่เช่นนั้น เมื่อเข้าไปอยู่แล้วจิตใจมีความสงบร่มเย็น
ความคิดฟุ้งซ่านรำคาญที่จะก่อกิเลสตัณหาอาสวะให้มากมูนบนหัวใจ
ก็ลดน้อยถอยลงไป ธรรมะคือความสงบเย็นใจค่อยเจริญขึ้นมา
ผลปรากฏว่าเกิดขึ้นจากความฝืน คือฝืนอยู่ ฝืนทรมาน ใจเราเกิดความสงบ
เมื่อเห็นผลอย่างนี้แล้ว แม้จะยากลำบาก จะกลัวขนาดไหนก็ฝืนใจทำลงไป
นี่ท่านเรียกว่าฝืน


ที่ ปฏิบัติมาฝืนอย่างนี้ และฝืนเรื่อยมาจนกระทั่งบัดนี้ ไม่ได้ไป
ไม่ได้พูด ไม่ได้ทำตามความชอบใจที่เคยอยากทำและที่เคยทำมาแล้ว
ต้องฝืนอยู่เสมอ ฝืนมาจนกระทั่งถึงปัจจุบัน ณ บัดนี้
แล้วยังจะฝืนต่อสิ่งที่ไม่ดีทั้งหลายจนกระทั่งวันอวสานแห่งชีวิต
ความคิดที่พยายามฝืนนี้ ซึ่งเราเคยได้ฝืนมาเป็นเวลานานก็มีกำลัง
ทุกสิ่งทุกอย่างไม่สามารถที่จะมาลบล้างความฝืน ความสุข ความทรมานตนได้
นี่ก็พอเป็นคติสำหรับท่านนักศึกษาทั้งหลาย ว่าพยายามฝืนนั้นแลเป็นความดี
ความรู้วิชาเราเรียนมามากน้อย ดังที่ได้ยกเป็นหัวข้อเบื้องต้นว่า
ความรู้ถูกปิดตันนั้น โดยมากความรู้ของเราที่เรียนมาไม่ว่าทางโลก
ไม่ว่าทางธรรม มักจะมาถูกปิดตันที่ตัวความอยาก
กิเลสราคะตัณหาตัวเดียวนี้เท่านั้น
ตัวนี้เป็นสิ่งที่มีอำนาจมากเหนือสิ่งใดๆ
มีธรรมะคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าเท่านั้น
ที่จะสามารถลบล้างหรือทำลายสิ่งที่มีอำนาจบนหัวใจเราได้


ความ รู้ที่มีมากน้อยโดยมากมาเป็นเครื่องมือของกิเลสประเภทเหล่านี้
จึงเรียกว่าความรู้ถูกปิดตัน จะเรียนมากรู้มากเพียงไรก็ตาม
แต่บทเวลาจะเอาจริงเอาจัง
ความอยากที่เกิดขึ้นมาด้วยอำนาจของตัณหานี้มีกำลังรุนแรง
จึงฉุดลากความรู้ทั้งหลายเหล่านั้นมาเป็นเครื่องมือเพื่อทำหน้าที่ของตนเสีย
โดยมากเป็นอย่างนี้ จึงได้ให้ชื่อหัวข้อธรรมว่า ความรู้ถูกปิดตัน
ถ้าความรู้ของเราเรียนมามากมายเพียงไร
สามารถที่จะทำสิ่งที่ไม่ดีไม่งามภายในใจ ให้หมดไปได้โดยลำดับ
ความรู้เหล่านั้นก็เรียกว่า ไม่ถูกปิดตัน แต่โดยมากรู้มากเพียงไรก็ตาม
ถ้าไม่พยายามฝืนแล้วต้องถูกปิดตันที่ตรงนี้


อำนาจ ของกิเลสตัณหาที่มีอยู่ภายในใจนี้เป็นสิ่งที่น่ากลัวมากมาย
แม้แต่ธรรมะที่เราเรียนมามากน้อยก็ตาม
ไม่สามารถที่จะลบล้างธรรมชาตินี้ได้ จึงต้องอาศัยภาคปฏิบัติ
คำว่าภาคปฏิบัติคือ ทำอย่างเอาจริงเอาจัง
ดังที่ได้เรียนแล้วเมื่อสักครู่นี้ว่า
การเข้าไปอยู่ในป่าในเขานั้นล้วนแล้วแต่เป็นการฝืน
คือฝืนเพื่อจะชำระหรือลบล้างกิเลสตัวมีอำนาจเหล่านี้ให้ลดน้อยถอยลงไป
จนมีความรู้ความเฉลียวฉลาดเกิดขึ้นภายในใจ
สามารถต้านทานหรือลบล้างกิเลสที่มีอำนาจมากเหล่านั้นให้ลดลงไปโดยลำดับๆ
จนมีความอยู่สบาย


ธรรมะ เมื่อเรานำมาลบล้าง นำมาแก้ไขสิ่งที่สกปรก
คือกิเลสอาสวะซึ่งมีอยู่ภายในใจให้หมดไปโดยลำดับ
จนกระทั่งถึงสะอาดปราศจากมลทินโดยตลอดทั่วถึงแล้วนั้น
เราอยู่ที่ไหนก็สบาย ดังพระอรหัตอรหันต์ท่านผู้ที่ชำระสิ่งที่เป็นข้าศึก
หรือเจ้าอำนาจที่เคยปิดตันความรู้ทั้งหลายนี้ให้หมดสิ้นไปจากใจแล้ว
อยู่ที่ไหนท่านก็สบาย ไม่มีสิ่งใดมารบกวนเลย นี่ผลแห่งการฝืน
ผลแห่งการฝึกทรมาน ผลแห่งการปฏิบัติแสดงให้เห็นประจักษ์ใจอย่างนี้


คำ ว่าความรู้ถูกปิดตันนั้น คือเวลาความอยาก ความทะเยอทะยาน
ความคึกความคะนองปรากฏขึ้นที่ใจ เรามักจะลืมความรู้วิชานั้นเสียหมด
แล้วคล้อยตามความเป็นไปของจิต มีความคึกคะนองเป็นต้น
เพราะฉะนั้นคนเราจึงมีทางเสียได้ทั้งๆ ที่มีความรู้มาก
แต่การกล่าวทั้งนี้ไม่ได้หมายความว่าให้ท่านทั้งหลายได้ระงับดับเสียโดยสิ้น
เชิง นี่กล่าวเพียงว่ามีการฝืนใจกันบ้างหรือการฝืนตนบ้าง พอให้งามตา
งามตัวเอง งามเกี่ยวกับสังคมทั้งหลายไม่ให้ล้นฝั่งไปเกินประมาณเท่านั้น


คำ ที่ว่าถูกปิดตันนี้โดยมากหมายถึงสิ่งที่จะทำเราให้เสีย
ไม่ได้หมายถึงธรรมดาสามัญทั่วไป เพราะโลกนี้เป็นสามัญชน
แต่ต้องเป็นกัลยาณชนด้วยจึงจะงามตาสงบใจ
ถ้าประพฤติปฏิบัติหรือคล้อยตามสิ่งที่ปิดตันนี้ทุกระยะทุกเวลาที่ต้องการ
แล้ว โลกนี้ก็ต้องเป็นความเดือดร้อนยิ่งกว่าไฟ เพราะต่างคนต่างอยาก
ต่างคนต่างทะเยอทะยาน ต่างคนต่างคึก ต่างคนต่างคะนอง ต่างคนต่างล้นฝั่ง
ไม่มีธรรมความพอดีเข้ากำกับเสียบ้างพอให้งามตา โลกจึงกลายเป็นไฟขึ้นได้
เท่าที่โลกพอมองดูได้ ไม่น่าเบื่อ
ไม่น่าเอือมระอาก็เพราะมีธรรมเป็นฝั่งฝาปิดกั้นเอาไว้
เราทั้งหลายที่กำลังจะเจริญรุ่งเรืองทั้งวัยคืออายุ สังขารร่างกาย
ทั้งความรู้วิชาที่เรียนมานี้ จึงควรนำธรรมะคือคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า
ได้แก่ความรู้จักประมาณนี้เข้าไประงับกำกับตนเอง
เพื่อให้สิ่งเหล่านี้มีอยู่พอประมาณ ไม่น่าเกลียดน่ากลัวมากนัก


เพราะ สิ่งเหล่านี้เมื่อแสดงออกมากๆ ทำบุคคลให้เสียได้จริงๆ
พระพุทธเจ้าท่านจึงสอนให้รู้จักประมาณในการรักษา อยู่เฉยๆ
สิ่งเหล่านี้ก็แสดง แม้อยู่ในที่ชุมนุมชนก็แสดง
อยู่ในที่ลับก็แสดงอยู่ในที่แจ้งก็แสดง เราต้องมีการระงับดับมันอยู่เสมอ
ถ้าไม่ดับด้วยอำนาจแห่งธรรมแล้ว ไม่มีสิ่งใดจะดับได้ จึงควรระวัง
ความรู้วิชาที่เราเรียนมา กรุณานำไปทำประโยชน์ให้ตนด้วย แก่สังคมทั่วๆ
ไปด้วย อย่าให้ความรู้วิชาทั้งหลายที่เรียนมานั้น
กลายเป็นเครื่องมือของความไม่ดีนี้ แล้วทำความเสียหายแก่ตนและสังคมทั่วๆ
ไป


เพราะ คนเราเรียนรู้มากเพียงไร ความฉลาดก็ย่อมมีมาก
แต่ถ้าพื้นฐานของจิตใจไม่ได้รับการอบรมกับธรรมะเท่าที่ควรแล้ว
ความรู้วิชาที่เรียนมาส่วนมากก็กลายเป็นเครื่องมือให้เราทำความชั่วช้าลามก
ได้มากมายกว้างขวาง ยิ่งกว่าคนที่ไม่มีความรู้วิชาเป็นไหนๆ
แต่ถ้าเรามีธรรมะเป็นพื้นเพของใจ ได้รับการอบรมอยู่เสมอ
ความรู้ที่เรียนมามากน้อย กลายเป็นเครื่องประดับตัวให้สวยงาม
ประกอบหน้าที่การงานก็เต็มเม็ดเต็มหน่วย เกิดประโยชน์แก่ตนและสังคมทั่วๆ
ไป กลายเป็นโลกที่ร่มเย็นขึ้นมา
เพราะความรู้เป็นเครื่องประดับและเสริมเกียรติของเรา
ตลอดหน้าที่การงานก็เป็นผลตามความต้องการ
ฉะนั้นกรุณานำธรรมะคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ไปปฏิบัติในข้อที่ว่า นิสมฺม
กรณํ เสยฺโย ใคร่ครวญก่อนแล้วทุกอย่างค่อยทำลงไป
นี่เป็นความรอบคอบไม่ค่อยผิดพลาดในกิจการทุกอย่าง
หากเราได้นำธรรมะข้อนี้ไปปฏิบัติ


การ แสดงธรรมรู้สึกว่าเป็นไปด้วยความไม่สะดวก เพราะเสียงรบกวนมาก
นิสัยของธรรมะป่าต้องแสดงในที่สงบสงัด
เมื่อออกสังคมเช่นนี้โดยมีความกระทบกระเทือนทางเสียงแล้ว
การแสดงจึงไม่ค่อยสะดวก
และเพื่อสงวนเวลาให้ท่านทั้งหลายได้ศึกษาไต่ถามข้ออรรถข้อธรรมที่เป็นปัญหา
ข้อข้องใจในวาระต่อไป การแสดงธรรมจึงขอยุติไว้เพียงเท่านี้



คำถามท้ายเทศน์



ถาม กระผมมีข้อข้องใจก็คือว่า เมื่อความรู้ถูกปิดตัน เราจะทำอย่างไรมันจึงจะเปิดออก


ตอบ ก็ เหมือนอย่างประตูบ้านของเราเมื่อถูกปิดตันอยู่
เราต้องการจะออกหรือเข้าเราก็เปิด
ประตูนั้นก็ย่อมจะเปิดได้และมีทางเข้าไป ถ้าเราจะปิดไว้ทั้งวันไม่ยอมเปิด
ประตูกับเราก็เข้ากันไม่ได้ เราต้องการจะเข้าห้องหรือออกห้องก็ออกไม่ได้
เพราะเราไม่เปิดประตู ถ้าคุณต้องการจะเข้าห้องหรือออกห้อง
คุณก็ต้องเปิดประตู คุณก็ออกได้เข้าได้อย่างสบาย ความรู้ที่ถูกปิดตัน
อะไรเป็นเครื่องปิดตันของความรู้เรา ก็ได้อธิบายให้ฟังแล้วเมื่อกี้นี้
สรุปความลงแล้วก็คือความอยาก เมื่อมีแต่ความอยากโดยถ่ายเดียว
โดยไม่ใช้ธรรมะมาพิจารณาเหตุผลแก้ไขความอยากนั้น
พอเป็นทางออกของความรู้หรือพอเป็นทางออกของเราแล้ว เราก็ออกไม่ได้
การที่จะออกได้ก็ต้องอาศัยความฝืนว่าทำอย่างไร
สิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ทั้งๆ ที่ฝืน คือทั้งๆ ที่อยากจะทำอยู่เวลานี้
เราจะฝืนได้ด้วยวิธีใด เราก็มีอุบายอันหนึ่งที่จะพยายามฝืน
ไม่ทำในสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์
ซึ่งกำลังถูกปิดตันความรู้ของเราอยู่เวลานี้ ถ้าไม่เข้าใจก็ถามได้อีก
ขอยุติเพียงแค่นี้เพื่อให้โอกาสแก่ท่านผู้ถามต่อไป


ถาม อำนาจแห่งธรรมเป็นอย่างไร


ตอบ อำนาจ แห่งธรรมเหรอ เราพูดอำนาจที่เป็นข้าศึกต่อกันเสียก่อนว่า
อันใดที่มีอำนาจ จะเป็นข้าศึกต่อธรรม
แล้วธรรมมีอำนาจที่จะแก้ไขสิ่งนั้นได้อย่างไร ทางหลักธรรมท่านว่า
กิเลสชนิดต่างๆ มีอำนาจตามวิสัยของมัน
แต่ธรรมะก็มีอำนาจที่จะแก้กิเลสประเภทนั้นๆ ให้ลดน้อยหรือหมดไปโดยลำดับ
นี่เราพูดอำนาจโดยเฉพาะๆ ไม่ได้พูดถึงอำนาจของธรรมทั่วๆ ไป
เพียงแค่นี้ก่อน


ถาม คนเราเกิดมาบางคนมีโรคภัยไข้เจ็บ พิกลพิการอย่างหนัก
บางคนยากจนข้นแค้นเหลือเกิน บางคนก็ร่ำรวยมหาศาล
ดังนี้ทางพระพุทธศาสนาว่าเป็นเพราะอะไรจึงแตกต่างกันเช่นนั้น


ตอบ แล้วทางโลกเห็นเป็นอย่างไร จึงต้องนำมาถามอย่างนั้น


ถาม เพื่อจะเห็นความแตกต่างของคน ว่าบางคนก็รวย บางคนก็จนอย่างนี้
ทำไมถึงเป็นอย่างนั้น


ตอบ ความร่ำรวยนี้ เราอาจตีความหมายได้ ๒ ทาง
ความร่ำรวยนั้นเกิดขึ้นมาในทางที่ชอบหนึ่ง เกิดขึ้นมาในทางที่ผิดหนึ่ง
เกิดขึ้นมาทางที่ชอบคือ
มีความขยันหมั่นเพียรทำการค้าการขายด้วยความชอบธรรม
บุคคลนั้นก็เกิดความมั่งมีขึ้นมา เพราะความขยันและความฉลาด
แต่อีกแง่หนึ่ง ความร่ำรวยนั้นเพราะเที่ยวรีด เที่ยวไถ เที่ยวกอบ
เที่ยวโกยเขามาก็มี แต่ทั้ง ๒ นี้เรียกว่าความร่ำรวยเหมือนกัน
ผิดกันแต่กิริยาที่แสวงหานั้นเท่านั้น
ตามหลักของพระพุทธศาสนาว่าขึ้นอยู่กับกรรม กรรมแปลว่าการกระทำ
กระทำอย่างไรผลก็ปรากฏขึ้นมาอย่างนั้น
แล้วมีข้อข้องใจอะไรก็ถามต่อไปอีกได้ ในปัญหาแง่นี้


ถาม คือปัญหานี้นะครับ เป็นปัญหาที่นักศึกษาแต่ละคน เรียนถามมา
ก็มีความคิดความเห็นต่างๆ กัน ปัญหาต่อไปที่จะเรียนถามท่านอาจารย์ก็มีว่า
คำว่าธรรมะนี้ควรจะให้คำจำกัดความอย่างไรถึงจะเหมาะสม


ตอบ ธรรมะนี้ลึกซึ้งมาก แยกเป็นประเภทๆ ตั้งแต่ธรรมะขั้นสามัญทั่วๆ
ไปจนกระทั่งธรรมะขั้นสูงสุด การทำดีก็เรียกว่าเป็นธรรมอันหนึ่ง
ผลปรากฏขึ้นเป็นความสุข
ตามอำนาจของเหตุที่ทำได้มากน้อยก็เรียกว่าธรรมอันหนึ่ง
ทั้งเหตุทั้งผลตามขั้นภูมิของผู้ทำและผู้ได้รับนั้นก็เรียกว่า
ธรรมเป็นชั้นๆ เช่นสมาธิธรรม ผู้บำเพ็ญสมาธิจนเกิดความสงบ ก็เรียกว่าธรรม
คือสมาธิธรรม ปัญญาธรรม ผู้มีความเฉลียวฉลาดทางด้านปัญญา
จนสามารถรื้อถอนสิ่งที่รกรุงรังภายในจิตใจของตนออกได้โดยลำดับ
ก็เรียกว่าปัญญาธรรม
พอกิเลสอาสวะหมดไปเพราะอำนาจของปัญญาธรรมนั้นก็เรียกว่า วิมุตติธรรมได้
ธรรมเป็นชั้นๆ อย่างนี้ เมื่อรวมความว่าธรรมแล้วนั้น
แปลว่าธรรมชาติที่ประเสริฐ
แต่ถึงอย่างไรก็ตามเราจะอธิบายถึงคำว่าธรรมนี้ให้ซึ้งถึงธรรมจริงๆ
นั้นเป็นการยากมาก เพราะธรรมนี้มีทั้งอยู่ในแดนสมมุติ
มีทั้งนอกแดนสมมุติไปแล้วแต่เรียกว่าธรรมด้วยกัน
จึงยากที่เราทั้งหลายที่ไม่สามารถจะทราบในธรรมทั้ง ๒ เงื่อนภายในใจ
คือธรรมภายในสมมุติและธรรมนอกสมมุตินั้น
จึงไม่สามารถจะแสดงให้แจ่มแจ้งได้


ในระหว่างที่พระคุณท่านตอบปัญหานี้นั้น
อยากจะให้นักศึกษาทั้งหลายตั้งอกตั้งใจฟังเพราะเป็นปัญหาที่มาจากคุณเอง
อย่าได้คุยกัน ปัญหาต่อไปก็มีว่า


ถาม ที่ว่าผลแห่งกรรมนั้น ย่อมเนื่องมาจากการกระทำในแต่ปางก่อน
มีข้อเท็จจริงอย่างไร


ตอบ เรื่องผลแห่งกรรมนั้น ปรากฏมาในชาติก่อนก็มี ในปัจจุบันก็มี
ในขณะนี้ก็มี ส่วนในชาติก่อนนั้นเราไม่สามารถจะทราบได้ว่า
ชาติก่อนนั้นเราเคยทำดีทำชั่วอย่างไร ผลจึงปรากฏขึ้นมาเป็นอย่างนั้นๆ
หรืออย่างนี้ๆ ในชาตินี้เราเคยทำอะไรบ้าง บางอย่างเราก็ลืม
แต่ผลก็ปรากฏให้เราทราบชัด ดังที่เรามีความรู้อยู่เวลานี้
เราต้องเคยเรียนหนังสือมาแล้วจากครู จากโรงเรียนนั้นๆ
แต่ว่าในโรงเรียนนั้นๆ ครูได้สอนวิชาอะไรให้เราบ้างในวันและเวลานั้นๆ
จนกระทั่งถึงบัดนี้ เราไม่อาจจะจำได้ทั้งครู
จำได้ทั้งความรู้วิชาที่เราเรียนในวันนั้นๆ ว่า ครูสอนอะไรให้เราบ้าง
และเราจำอะไรได้บ้าง จนกระทั่งปัจจุบันนี้ แต่เราก็ปฏิเสธไม่ได้ว่า
ความรู้ที่มีอยู่ภายในตัวของเราเวลานี้เราไม่ได้รับการศึกษามาเลย
นี้เป็นข้อหนึ่ง แล้วในหลักปัจจุบัน ที่ว่าผลปรากฏขึ้นในขณะที่ทำ
เช่นเรากำลังหิวข้าว เรารับประทานลงไปในขณะที่หิว
ความอิ่มก็ปรากฏให้เราเห็นชัดๆ
จนกระทั่งถึงอิ่มถนัดแล้วหยุดจากการรับประทาน
นี่เป็นผลที่เราเห็นประจักษ์ ซึ่งปฏิเสธไม่ได้ด้วยกันทุกคน เรียกว่าผล
อยัมภทันตา ได้แก่การรับประทาน เอาละแค่นี้ก่อน


ถาม ขอบพระคุณมากครับ ปัญหานักศึกษาต่อไป
ผู้ที่จะบรรลุถึงธรรมขั้นต้นนั้น ควรจะปฏิบัติอย่างไร


ตอบ ธรรมขั้นต้นหมายถึงธรรมอะไร


ถาม อาจจะเป็นธรรมที่เหมาะสมสำหรับการปฏิบัติของฆราวาส ฆราวาสธรรม


ตอบ เอาอย่างนี้ดีกว่านะ สมมุติว่าเราขี้เกียจ เวลาตื่นขึ้นมาตอนเช้า
หรือเวลาจะหลับนอน เราขี้เกียจไหว้พระสวดมนต์ แม้ย่อๆ ก็ขี้เกียจ
เราก็พยายามกำจัดความขี้เกียจนั้นด้วยความอุตส่าห์พยายาม
วันนี้จะสวดให้ได้ทั้งตอนเช้าตอนเย็น แม้จะย่อๆ ก็ให้ได้
ไม่ผิดพลาดไปได้อย่างนี้ เราพยายามทำจนทำได้ ก็เรียกว่า
เอ้าถามว่ายังไงตะกี้นี้ลืมคำถามไปแล้ว


ถาม ผู้ที่จะบรรลุถึงธรรมขั้นต้น


ตอบ เอาละ เข้าใจ ก็เรียกว่าเราบรรลุแล้ว
คือบรรลุความขี้เกียจอันนั้นให้ถึงความขยัน
แล้วเราก็ได้สวดมนต์ไหว้พระด้วยความสะดวกสบายของเรา
นี้ก็จัดว่าบรรลุขั้นหนึ่งแล้ว คือบรรลุความขยัน
ทำลายความขี้เกียจในขณะนั้นออกไป
หรือเราจะเรียกว่าบรรลุความขี้เกียจก็พอได้ เพราะเราเคยขี้เกียจมานาน
เราผ่านพ้นความขี้เกียจมาได้ก็เรียกว่า
เราบรรลุความขี้เกียจนั้นถึงความขยันได้ไหว้พระสวดมนต์ เอ้า
นี่เป็นธรรมขั้นหนึ่ง แล้วขั้นสมาธิ เรียกว่าบรรลุสมาธิ คือถึงสมาธิ
ความถึงนั้นเรียกว่าความบรรลุ คือบรรลุถึงนั้นถึงนี้
ก็เรียกว่าธรรมขั้นหนึ่ง บรรลุพระโสดา บรรลุสกิทาคา บรรลุอนาคา
บรรลุอรหันต์อย่างนี้ล้วนแต่เป็นธรรมบรรลุ
แต่การจะทำตนให้ถึงความบรรลุหรือปฏิบัติให้บรรลุนั้น
ความเพียรพยายามเป็นสิ่งสำคัญ
เราจะทำให้บรรลุถึงขั้นไหนต้องมีความเพียรความพยายามประจำหน้าที่ของเรา
แล้วความบรรลุก็จะเป็นผลตามมา ไม่ว่าธรรมะขั้นต่ำ ขั้นกลาง
หรือขั้นละเอียดสูงสุดคือ
วิมุตติพระนิพพานต้องอาศัยความขยันหมั่นเพียรเป็นสำคัญ เอ้า
เอาแค่นี้ก่อน


ถาม อยากจะเรียนถามพระคุณท่านต่อไปว่า
ในขณะที่เรียนหนังสือมีวิธีการอย่างไรจึงจะทำให้เกิดสมาธิได้ดี
ไม่วอกแวกต่อสิ่งรบกวน


ตอบ อ๋อแต่ อาจารย์เองก็ยังวอกแวก แล้วจะสอนลูกศิษย์ไม่วอกแวกนี้ไม่ได้
ถ้าอาจารย์ไม่วอกแวก แล้วสอนลูกศิษย์ไม่ให้วอกแวกก็ควรอยู่
แต่นี้อาจารย์ก็วอกแวก เวลาเสียงมาบางทีก็ต้องหยุดเสียก่อน
แม้แสดงธรรมอยู่ต้องหยุด เพราะมารบกวนสมาธิเรา
ทีนี้สมาธิเราก็วอกแวกแสดงธรรมก็ไม่ได้ต้องหยุดเสียก่อน
การเรียนก็สำคัญที่ความมุ่งมั่นเป็นหลักใจ แต่ความวอกแวกของใจนี้
ใจเป็นธรรมชาติที่เคยคิดเคยปรุงมาประจำตน ไม่ว่ากลางวัน กลางคืน ยืน เดิน
นั่ง นอนเว้นเสียแต่หลับสนิทเท่านั้น ความคิดจะต้องคิดปรุงอยู่เสมอ
แล้วสิ่งที่จะคอยรับทราบมีอยู่ภายในตัวของเรา ตาก็คอยรับทราบทางรูป
หูคอยรับทราบทางเสียง จมูกคอยรับทราบทางกลิ่น ลิ้นคอยรับทราบทางรส
กายคอยรับทราบสิ่งที่มาถูกต้องสัมผัส
ใจคอยรับทราบอารมณ์ที่มาเกี่ยวข้องหรือที่เกิดขึ้นกับใจ
ความคอยรับทราบมีอยู่พร้อมทุกเวลา แล้วเราจะปฏิเสธได้อย่างไรว่า
จะไม่ให้ใจรับทราบ จะไม่ให้ใจวอกแวกคลอนแคลน
ก็มีอยู่เพียงข้อเดียวก็คือว่า
เราพยายามระวังสิ่งใดที่เป็นภัยในขณะที่รับทราบนั้น
เราพยายามกำจัดพยายามแก้ไข แล้วปลดเปลื้องจิตจากความรับทราบนั้น
ให้ไปเกี่ยวข้องกับสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่ตนในทางอื่นเสีย
นี่ก็เป็นวิธีหลีกเลี่ยงการรับทราบที่ไม่เป็นประโยชน์
เพื่อถือเอาประโยชน์จากการรับทราบทางหนึ่ง นี่ก็เป็นทางออกอันหนึ่ง
แต่จะให้จิตแน่นหนามั่นคงไม่ให้รับทราบอะไรเลยนั้นเป็นไปไม่ได้ นอกจาก ๑.
คนนอนหลับ ๒. คนตายนั้นมั่นจริงๆ เรียกว่ามั่นคงใครจะทำอะไรก็เฉย
จิตธรรมดานี้จะเป็นอย่างนั้นไม่ได้ มีอะไรว่าต่อไปอีก


ถาม ปัญหาต่อไป การศึกษาธรรมะมีความจำเป็นต่อสังคม
การครองชีพอย่างไรหรือไม่ เพราะเหตุใด


ตอบ การศึกษามีความจำเป็น และการปฏิบัติก็มีความจำเป็นเท่าเทียมกัน
ถ้ามีแต่การศึกษาไม่พยายามปฏิบัติตามก็ไม่ค่อยเกิดประโยชน์
จะรู้มากรู้น้อยเพียงไรก็ไม่ค่อยจะเกิดประโยชน์
ประโยชน์ที่จะให้เกิดนั้นเกิดขึ้นจากภาคปฏิบัติ
คือการปฏิบัติตามความรู้ที่เราได้ศึกษามานั้นเกิดประโยชน์ แล้วมีอะไรอีก


ถาม คนในทางพุทธศาสนาหมายถึงอะไร ทำไมถึงเรียกว่าคน


ตอบ คนนอกพระพุทธศาสนา เขาไม่เรียกว่าคนเหรอ
เขาเรียกคนเฉพาะในวงของคนที่นับถือพุทธศาสนาเท่านั้นหรืออย่างไรจึงเป็นปัญหาให้ต้องถามกัน


ถาม คืออาจจะมีความหมายว่าคนที่พุทธศาสนากำหนดนี้ หมายถึงอะไร
มีคุณสมบัติอย่างไรถึงเรียกว่าคน


ตอบ คนนี้เป็นคำที่ใช้ทั่วๆ ไป คนไม่ถือศาสนาก็เรียกว่าคน
คนชั่วก็เรียกว่าคน คนดีก็เรียกว่าคน คนพาลก็เรียกว่าคน
บัณฑิตนักปราชญ์ก็เรียกว่าคน เพราะคนนี้เป็นนามของมนุษย์เรา
เช่นมนุษย์หรือคนนี้เป็นไวพจน์ที่จะใช้แทนกันได้โดยทั่วๆ ไป
จึงไม่ค่อยมีปัญหาอะไรกับทางพุทธศาสนาว่า
ผู้ที่นับถือพุทธศาสนาต้องเรียกว่าคน
คนไม่นับถือพระพุทธศาสนาจะเรียกว่าอะไรต่อไปอีก หรือเรียกว่ามนุษย์
มนุษย์ที่ถือพุทธศาสนาก็ยังมี แต่เราให้ชื่อว่ามนุษย์ให้ชื่อว่าคน
เป็นไวพจน์แทนกันเท่านั้น ไม่สำคัญกับคำว่าคน
กับคำว่ามนุษย์ที่ต้องนับถือพุทธศาสนาจึงเรียกว่าคน เรียกว่ามนุษย์
แล้วมีอะไรอีก


ถาม นมัสการพระคุณท่าน
เท่าที่เกล้ากระผมได้รวบรวมปัญหามาและเท่าที่ได้อ่านปัญหาดูนั้น
ปัญหาหนึ่งซึ่งนักศึกษาส่วนใหญ่สนใจมาก คือเรื่องของผี เรื่องของเทวดา
เรื่องของนรก และเรื่องของสวรรค์ นักศึกษาส่วนใหญ่อยากจะทราบว่าผีก็ดี
นรกก็ดี เทวดาก็ดี สวรรค์ก็ดีเหล่านี้ มีจริงหรือไม่อย่างไรครับ


ตอบ ถ้าไม่มีจริงแล้ว ผู้ที่เอาผีมาถาม นรกมาถาม เอามาจากไหน
หรือเอาผีโกหกเอานรกโกหกมาถามกันอย่างนั้นหรือ
ผู้ตอบถ้าหากว่าตอบไปแบบโกหกแล้วผู้ฟังจะน่าฟังหรือไม่
จึงยังเรียนตอบไม่ได้ในข้อนี้ ต้องถามถึงความจริงสำหรับผู้ถามเสียก่อนว่า
คำว่าผีที่ได้มาถามนี้ได้มาจากไหนถึงเรียกว่าผี


ถาม เกล้ากระผมใคร่จะขอชี้แจงรายละเอียดของปัญหา
โดยจะยกเรื่องผีมาเป็นปัญหาก่อน
คือเท่าที่เรานักศึกษาส่วนใหญ่เข้าใจกันในปัจจุบันนี้ก็ว่า
คนที่ตายไปแล้วนั้นอาจจะมาหลอก อาจจะมาหลอน หรืออาจจะมาเข้า
ซึ่งที่เรียกว่าเข้าทรงหรือผีเข้าเหล่านี้
ผีที่ว่าดังนี้นั้นมีจริงหรือไม่อย่างไร


ตอบ ผีเหล่านั้นไม่เคยมาทรงอาจารย์จึงไม่กล้าจะรับรองได้ว่ามีจริง
ถ้าผีทั่วๆ ไปที่โลกให้ชื่อว่าผีนั้นเป็นคำที่เหมาเสียโดยมาก
คือเรื่องของผีนี้ตามหลักพุทธศาสนาก็เคยมีมาตั้งแต่ครั้งพระพุทธเจ้าของเรา
ที่ให้นามว่าผีนั้นเป็นส่วนรวมของอมนุษย์ ที่นอกจากสัตว์เดรัจฉาน
นอกจากมนุษย์ของเราที่มีรูปร่างทางด้านวัตถุแต่เป็นนามธรรม
ที่เราให้ชื่อว่าผีนั้น ตัวเขาเองเขาไม่ทราบว่าเขาเป็นผี
เขาไม่ได้ให้ชื่อให้นามเขาว่าเป็นผี แต่เขาเป็นสัตว์ชนิดหนึ่ง
ที่เป็นวิสัยของผู้ที่มีความรู้ความสามารถในทางใจโดยเฉพาะเท่านั้นจะมองเห็น
เขาได้ ว่าผีเหล่านี้มีลักษณะอย่างนั้นมีนิสัยอย่างนั้น
หรือมีบาปมีบุญได้เสวยกรรมอย่างนั้นๆ
นี่เป็นวิสัยของท่านผู้มีความรู้ทางด้านสมาธิหรือด้านจิตตภาวนาจะทราบได้


แต่ คำว่าผีนี้โดยมากเมื่อพิจารณาตามความจริงแล้ว
เป็นคำรวมของพวกที่ไม่มีรูปร่าง เรียกว่าพวกกายทิพย์
คือรูปร่างเหมือนอย่างเรานี้ไม่มี
แต่จิตวิญญาณนั้นมีเช่นเดียวกับมนุษย์และสัตว์ทั่วๆ ไป
เราให้นามพวกนี้ว่าผี
พวกเทวดานั้นหมายถึงผู้ที่มีภพอันหนึ่งที่นอกเหนือไปจากพวกนี้ เช่น
รุกขเทวดาหรืออากาสเทวดา เทวดาที่อาศัยอยู่ตามต้นไม้ ภูเขา
เทวดาที่อาศัยอยู่บนอากาศหรือเทวดาอยู่ในสวรรค์ชั้นนั้นๆ
อันนี้ก็มีแต่จำพวกกายทิพย์ไม่มีกายเนื้อเหมือนอย่างพวกเรา
แต่พวกผีเขาเป็นชนิดหนึ่ง เป็นสัตว์ชนิดหนึ่ง
เช่นอย่างพวกที่เข้าทรงหรือเขาเรียกผีปอบที่เข้าผู้เข้าคนน่ะ
คนป่วยน่ะผีปอบชอบ ชอบเหลือเกิน ไปเข้าคนนั้นเข้าคนนี้
แล้วถ้าหมอผีปราบไม่เก่ง ปอบหรือผีนั้นก็กินได้แล้วตายได้
นี่ตามที่เขาพูด เขาพูดอย่างนั้น


แต่ อาจารย์ไม่เคยเห็นผีทุกๆ ประเภทว่าเป็นชนิดใด
เพราะไม่เคยมาถามข่าวถามคราวไม่เคยมาสนทนาปราศรัยและไม่เคยมาเข้าทรงอาจารย์
ไม่เคยมาเข้าอาจารย์ ไม่เคยมาตำหนิติโทษหรือชมเชยอาจารย์ว่าอย่างไร
และไม่เคยมารายงานตัว รายงานชื่อของตัว ว่าเขามาจากที่นั่นที่นี่
เขามาจากภูมินั้นภูมินี้ พ่อแม่สกุลของเขาชื่อนั้นๆ
ป้าน้าอาหรือปู่ย่าตายายของเขาชื่ออย่างนั้นๆ เขาไม่มีเหมือนมนุษย์เรา
แต่คนก็ให้ชื่อว่าเขาเป็นผี
สำหรับอาจารย์แล้วขอเรียนว่าไม่เคยทราบวี่แววของท่านเหล่านี้
หรือของพวกผีเหล่านี้มาเกี่ยวข้องเลย เอาแค่นี้ก่อน


ถาม เป็นอันว่าทางฝ่ายผู้ฟังเองก็ยังสรุปเอาแน่นอนไม่ได้ว่า
ผีนั้นมีจริงหรือไม่อย่างไร


ตอบ อ๋อ ก็ควรจะฟังให้แน่นอน
เพราะผู้พูดนี้พูดให้ฟังตามหลักพุทธศาสนาว่าผีนั้นมีจริง
หลักพุทธศาสนาแสดงไว้ว่าผีนั้นมีจริง
แต่คำที่ว่าผีนั้นเป็นคำรวมของพวกกายทิพย์ทั้งหลายเว้นพวกเทวดาเสียโดยมาก
นอกนั้นเรียกว่าผีเป็นคำรวม
พวกเหล่านี้มีความเป็นอยู่โดยเปิดเผยตามหลักธรรมชาติของตน
เช่นเดียวกับมนุษย์และสัตว์มีอยู่ด้วยความเปิดเผยในวิสัยของเราที่รู้เห็น
กันอย่างชัดๆ พวกเหล่านั้นเขาก็มีทางรู้เห็นเขาโดยชัดเจนเช่นเดียวกับเรารู้เห็นกันนี้เอง
แต่เป็นวิสัยของใจที่จะรู้สิ่งเหล่านั้นเท่านั้น
ไม่ใช่เป็นวิสัยของตาของหู
ถ้าสิ่งเหล่านั้นไม่มาแสดงเป็นอากัปกิริยาให้เราทราบในบางครั้ง
เราจึงไม่มีทางทราบได้ แล้วก็ลบล้างเขาเสียเลยว่า
เขาไม่มีหรือสิ่งเหล่านี้ไม่มีอยู่ในโลก บางคนจึงปฏิเสธว่าผีไม่มีทั้งๆ
ที่ก็ไม่เคยเห็นว่าผีมีหรือไม่มี อย่างนี้ก็มีมากมาย บางคนก็ว่ามี
ใบไม้ร่วงลงมาใบหนึ่งก็ว่าผีหลอกอย่างนี้ก็มี อะไรๆ
เหมาว่าเป็นผีไปหมดอันนี้ก็เกินไป ผู้ที่ปฏิเสธเสียหมดทั้งๆ
ที่สิ่งนั้นมีอยู่ ไม่มีอะไรจะไปลบล้างเขาได้
แต่เราก็ไปลบล้างเอาเสียด้วยวาทะหรือความรู้ความเห็นของเราเสียถ่ายเดียวว่า
ผีไม่มีอย่างนี้ก็เกินไปเช่นเดียวกัน
ท่านผู้ฟังพอจะเข้าใจแล้วหรือว่าได้ความแน่นอนอย่างไรบ้างที่ชี้แจงให้ฟังตะ
กี้นี้ว่าผีมีจริงหรือไม่


ถาม เกล้ากระผมเคยอ่านหนังสือเจอตามภูมิตามปัญญาขั้นต่ำว่าความเป็นมนุษย์ความ
เป็นคนนี้ประกอบจากขันธ์ ๕ เป็นสิ่งปรุงแต่งขึ้นจากขันธ์ ๕
คือเรื่องของรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ การที่เรารู้สึกร้อนก็ดี
การที่เรารู้สึกว่าคนนั้นเป็นอย่างนั้น
หรือการที่เรารู้สึกว่าอะไรเป็นอะไรก็ดีเหล่านี้
ล้วนแต่เกิดจากการปรุงแต่งขึ้นของขันธ์ ๕ ทั้งสิ้น
เพราะฉะนั้นหากมองกันในแง่ว่าความเป็นตัวตนก็ดี
ความเป็นสิ่งที่มีอยู่ก็ดี เกิดขึ้นจากการปรุงแต่งของขันธ์ ๕ แล้ว
เมื่อคนตายลงหรือสิ่งนั้นสิ่งนี้ดับตายลงไปนั้น
ก็น่าที่จะไม่มีอะไรเหลือไปอีกเลย หากพระคุณท่านยังเน้นอยู่ว่า
มีสิ่งหนึ่งซึ่งเราสามารถจะทราบได้ด้วยจิต
สิ่งนั้นเกล้ากระผมก็เลยจะทราบว่าเป็นส่วนของขันธ์ ๕
หรือว่าเป็นสิ่งที่แผ่ไปจากขันธ์ ๕ อย่างไร


ตอบ ขันธ์ ๕ ก็คือรูป ได้แก่ ร่างกายของเราทุกส่วน เวทนาได้แก่
ความสุขความทุกข์เฉยๆ ทั้งทางกายและทางใจ เรียกว่าทุกขเวทนาบ้าง
สุขเวทนาบ้าง อุเบกขาเวทนาบ้าง ซึ่งมีอยู่ตามร่างกายและจิตใจ สัญญา
คือความจำได้ว่าบ้านนั้น คนนั้น ชื่อนั้น บ้านนั้นชื่อนั้น เป็นต้น
สังขาร คือความคิดของใจ คิดไปต่างๆ คิดดีบ้างชั่วบ้าง วิญญาณ
คือความรับทราบทางอายตนะภายนอกกับภายในเข้าสัมผัสกัน
เช่นตากับรูปสัมผัสกัน เกิดความรู้ขึ้นมาเป็นต้น เรียกว่าวิญญาณ
อาการทั้ง ๕ นี้ท่านเรียกว่า ขันธ์ ๕
แต่ธรรมชาติอันหนึ่งที่นอกเหนือไปจากขันธ์ ๕ นี้ท่านเรียกว่าใจ
ใจนี้คือความรู้อยู่ตามหลักธรรมชาติของตัว สิ่งเหล่านี้จะแสดงตัวขึ้น
คืออาการทั้ง ๕ นี้อาการใดอาการหนึ่งจะแสดงขึ้นมาก็ตามไม่แสดงขึ้นมาก็ตาม
ธรรมชาติที่รู้ๆ อยู่ตามปกติของตนหรือตามธรรมชาติของตนนั้น ท่านเรียกว่า
จิต จิตนั้นไม่ใช่ขันธ์เหล่านี้
เพราะฉะนั้นจิตกับขันธ์จึงไม่ใช่เป็นอันเดียวกัน แต่อาศัยกันเกิดขึ้น
แล้วมีข้อข้องใจอะไรอีก


ถาม ปัญหานั้นออกจะเป็นปัญหาที่หนักอยู่
ทีนี้เกล้ากระผมจะถามปัญหาในเรื่องของอัตตหิตประโยชน์ไม่ใช่ปรหิตประโยชน์.
คือมีผู้ส่งปัญหามาว่า
ธรรมะในปัจจุบันนี้ถ้าเราจะโน้มเอียงไปในทางด้านการตัดกิเลสตัณหาอาสวะ
เราก็คงจะออกเดินป่าไปเสียหมด
จะทำอย่างไรจึงจะให้ธรรมะเป็นประโยชน์กับชีวิตในปัจจุบัน
โดยไม่ออกเดินป่าเหมือนแต่ก่อน


ตอบ ถ้าเช่นนั้นอาจารย์มาหาท่านทั้งหลายนี้ไม่ได้เรียกว่า
เข้าป่าแต่เข้ามาหาป่ามนุษย์
เมื่อเป็นเช่นนั้นอาจารย์ก็เป็นผู้มาสั่งสมกิเลสเต็มหัวใจละซิ
เพราะการแก้กิเลสต้องไปแก้ในป่า เข้ามาในบ้านนี้ก็กลับตรงกันข้ามเรียกว่า
มาสั่งสมกิเลส เพราะฉะนั้นอาจารย์ที่มาจากวัดป่าบ้านตาด
ซึ่งเป็นสถานที่นิยมกันว่าเป็นสถานที่แก้กิเลส
แล้วเข้ามาสถานที่นี่ซึ่งเป็นที่ชุมนุมชน
ก็กลายเป็นว่ามาสั่งสมกิเลสขึ้นให้มากมูนภายในใจ ใช่ไหม


ถาม เกล้ากระผมคิดว่าผู้ที่ถามปัญหามาคงจะเข้าใจ


ตอบ อาจารย์อธิบายให้ฟังใหม่นะ คือการแก้กิเลสนั้นไม่ได้หมายถึง
กิเลสต้องเป็นพระอรหัตอรหันต์
การแก้กิเลสไม่ใช่ว่าจะไล่คนเข้าป่าเสียทุกคน
เราอยู่ในบ้านในเรือนนี้กิเลสมันก็มี ธรรมะเครื่องแก้ก็มี
เช่นใจของเราถ้าวันไหนมันโมโหโทโสมาก ก็เอาขันติเข้าไปแก้
มันโลภมากก็เอาความพอดีเข้าไปแก้
มันคึกคะนองมากก็เอาธรรมะคือความข่มใจเข้าไปแก้อย่างนี้
ก็แก้กันไปได้โดยลำดับๆ
โดยไม่ต้องถึงมรรคผลนิพพานคือไม่ถึงกับจะต้องแก้กิเลสให้หมดถึงมรรคผลนิพพาน
ได้ คือแก้กิเลสที่เป็นข้าศึกต่อตัวอยู่ทุกระยะๆ ประจำวันๆ
นี้ด้วยหลักธรรมเป็นข้อๆ ไปเท่านั้น เราก็เกิดประโยชน์
พอเข้าใจไม่ใช่หรือ


ถาม ขอรับกระผม มีปัญหาหนึ่งซึ่งเกล้ากระผมคิดว่าเป็นปัญหาที่หลายท่านสนใจมาก
คือเวลามีญาติโยมของเราเสียชีวิตไปแล้ว เรามักจะได้ยินเสมอๆ
ว่าหากเราทำบุญ เราตั้งจิตอธิษฐานหรือว่าตั้งจิตที่จะส่งผลบุญนั้นไปถึงผู้ตาย
ผลบุญนั้นก็จะถึงผู้ตาย เกล้ากระผมอยากจะเรียนถามว่า
ผู้ที่ล่วงลับไปแล้วนั้นจะได้รับส่วนกุศลจริงหรือไม่อย่างไร


ตอบ ถ้าถึงก็ควรจะได้รับ นอกจากไม่ถึง ประการหนึ่งๆ นอกจากไม่อุทิศ
นอกจากไม่ทำก็ไม่ถึง หรือไม่ใช่วิสัยที่จะควรรับได้ก็ไม่ถึง
ถ้าส่งถึงจริงๆ แล้วก็ควรจะได้รับ แล้วมีอะไรอีก


ถาม ปัญหานี้เป็นปัญหาซึ่งคงจะฮิตอยู่มากอยู่ในเมืองไทย
คงจะเป็นที่เลื่องลือมากในเมืองไทย คือปัญหาที่มักจะปรากฏบ่อยๆ
ว่ามีผู้ระลึกชาติได้ เรื่องนี้มีความเป็นจริงอย่างไรทางด้านพุทธธรรม


ตอบ ระลึกชาติของตัวเองว่าชาติอะไรเกิดเป็นอะไรงั้นหรือ


ถาม ใช่ครับ


ตอบ อ๋อ อันนี้ควรจะไปถามท่านผู้ระลึกชาติได้ อาจารย์ระลึกไม่ได้
ถามก็ไม่เกิดประโยชน์


ถาม มีปัญหาที่เพิ่งมาเมื่อตะกี้นี้
คือปัญหาการตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับศีลข้อที่ ๑ คือข้อที่ห้ามฆ่าสัตว์นั้น
ถ้าหากพุทธศาสนิกชนไม่เป็นผู้ฆ่าแล้ว พระสงฆ์จะได้ฉันแต่อาหารจำพวกพืช
ขอให้ท่านอาจารย์ได้อธิบายเกี่ยวกับการถือเบญจศีลข้อนี้ด้วย


ตอบ ถ้างั้นพระก็เรียกว่ายักษ์ใช่ไหม
คอยจะกินแต่ของตั้งแต่ปาณาติบาตอย่างเดียว อย่างอื่นไม่กินไม่ฉัน
พระก็ตั้งตัวเป็นยักษ์เท่านั้นเอง ถ้าหากว่าญาติโยมมีศรัทธาอะไรไปถวาย
หน้าที่ของพระซึ่งอาศัยผู้อื่นเป็นอยู่
ก็ควรจะรับได้ในวิสัยของสมณะที่ควรรับได้
ไม่จำเพาะเจาะจงว่าต้องเป็นปาณาติบาตอย่างเดียวพระถึงจะรับ นอกนั้นไม่รับ
ถ้าเป็นอย่างนั้นก็ควรจะเป็นพระยักษ์หรือตั้งชื่อให้เสียใหม่ว่า
พระยักษ์คอยกินแต่เนื้อหนังของคนและของสัตว์อื่นๆ แล้วว่าไงอีกล่ะ


ถาม เกล้ากระผมนึกปัญหาหนึ่งออกมาได้ว่า ปัจจุบันนี้วิทยาศาสตร์เจริญมาก
จากการที่เราสามารถประดิษฐ์กล้องจุลทรรศน์ที่มีกำลังขยายมากมายนั้นทำให้เรา
ทราบว่า น้ำนั้นถึงจะบริสุทธิ์ปานใดก็ตาม
จะต้องมีสิ่งที่มีชีวิตอยู่ในนั้นเป็นของแน่นอน เพราะฉะนั้นหากเราถือว่า
พระพุทธองค์ซึ่งเป็นผู้ที่ตรัสรู้แล้วไม่ทรงกระทำผิดศีลข้อที่ ๑
จะเป็นไปได้หรือไม่ ก็เพราะว่าพระพุทธองค์ยังทรงเสวยน้ำอยู่
และในน้ำนั้นต้องมีพวกสิ่งมีชีวิตอยู่เป็นล้านๆ
ตัวถ้าใช้กล้องจุลทรรศน์ส่องดู


ตอบ ตามหลักพระวินัยท่าน เขาบัญญัติไว้ที่อยู่ในวิสัยของพระเท่านั้น
คือวิสัยของเราที่จะทำได้ เช่นท่านมีธมกรก เครื่องกรองน้ำ
กรองนั้นก็กรองตัวสัตว์ไม่ให้มี แต่เวลากรองแล้วสัตว์จะมีเป็นจำนวนล้านๆ
อย่างที่คุณว่าก็สุดวิสัยที่ท่านจะทราบได้ แม้จะมีจำนวนมากกว่าล้านๆ
นั้นขึ้นไปท่านก็อาจจะฉันได้เพราะท่านไม่ทราบ
หรือยกตัวอย่างเช่นในน้ำชานี้ น้ำชาที่อาจารย์ฉันอยู่นี้
ต้มน้ำร้อนเป็นน้ำร้อนมาแล้ว
น้ำชานี้อาจารย์เข้าใจว่าน้ำชานี้บริสุทธิ์ไม่มีตัวสัตว์อยู่ภายใน
แต่ตัวสัตว์อาจจะอยู่นี้จำนวนตั้งหลายล้านตัวก็ได้
อาจารย์ต้องฉันสัตว์ตายไปจำนวนล้านๆ ตัวแล้วหรือถ้าอย่างนั้น


ถาม ขณะนี้มีข่าวฮิตทางหน้าหนังสือพิมพ์ คือข่าวการผ่าตัดเปลี่ยนแปลงเพศ
อาจจะมีการผ่าตัดเปลี่ยนจากผู้หญิงมาเป็นผู้ชาย มีผู้เรียนถามมาว่า
ผู้ที่ได้รับการผ่าตัดอย่างนี้แล้วเมื่อจะบวชนั้นจะผิดวินัย
จะผิดบัญญัติข้อไหนหรือไม่


ตอบ ถ้าเป็นคน ๒ เพศท่านก็ไม่ให้บวช ตามหลักพระวินัยท่านห้าม เป็นอุภโต
เป็นคน สองเพศ แต่การผ่าตัดเปลี่ยนเพศเป็นใหม่อย่างนี้อาจารย์ไม่ทราบ
เพราะแต่ก่อนไม่เคยมีนักวิทยาศาสตร์ที่เจริญขนาดนี้
อุปัชฌาย์อาจารย์จึงไม่มีพิเศษไว้สำหรับบวชคนเปลี่ยนเพศอย่างนี้
ต่อไปจะต้องมีอุปัชฌาย์หลายอุปัชฌาย์ละมัง
อุปัชฌาย์ที่บวชเป็นเพศชายล้วนๆ นี้เป็นอุปัชฌาย์หนึ่ง
อุปัชฌาย์หนึ่งก็ผู้ที่เปลี่ยนเพศจากผู้หญิงเป็นผู้ชาย
นี้บวชให้เป็นอุปัชฌาย์หนึ่งต้องเป็นสองอุปัชฌาย์ในวัดหนึ่งๆ จะต้องมี ๒
อุปัชฌาย์เพื่อบวชคน ๒ เพศด้วย บวชคนเพศเดียวด้วย


ถาม ปัญหาหนึ่งซึ่งคนส่วนมากคงจะแปลกใจ คือเวลาหลับแล้วนั้นจะเกิดความฝัน
ฝันเห็นโน่นเห็นนี่ เป็นรูปเป็นร่างขึ้นมาจริงๆ ในความฝันนั้น
เท่าที่รู้สึกก็รู้สึกว่าจับได้จริง รู้สึกเจ็บจริง ร้อนจริง ตกใจจริง
กลัวจริง อยากจะเรียนถามพระคุณท่านว่า
ในด้านพุทธศาสนานั้นจะอธิบายเรื่องของความฝันนี้อย่างไร


ตอบ อ๋อ อาจารย์เคยฝันเหมือนกัน บางทีฝันวิ่งกลัวเสือ
ปรากฏว่าเสือมาหาก็มีในขณะที่ฝัน จนลุกวิ่ง
วิ่งแล้วในขณะที่วิ่งตัวนอนอยู่นะแต่มันเป็นความรู้สึกอันหนึ่งลุกวิ่ง
พอตื่นขึ้นมาแล้ว โอ้โห นี่มันฝันเสือก็หายไป ก็ไม่เห็นมีอะไรต่อไป


ถาม ปัญหาต่อไป มีปัญหามาว่า
การที่จะทำให้สงบไม่ให้จิตใจฟุ้งซ่านเวลาอยู่คนเดียว
จะทำอย่างไรจึงจะไม่คิดในเรื่องที่เป็นกิเลส


ตอบ ก็ควรจะเอานำธรรมเข้าไปกำกับใจ
ตามธรรมดาของใจทำหน้าที่อันเดียวในขณะหนึ่งๆ
เมื่อได้คิดสิ่งใดแล้วก็ย่อมคิดอยู่ในสิ่งนั้น ไม่เคยแยกเป็นสอง
เหมือนอย่างมือซ้ายมือขวาของเรา เช่นเรามี ๒ มือ
มือซ้ายอาจจะทำงานอันหนึ่ง มือขวาอาจจะทำงานอันหนึ่งก็ได้
แต่ใจเราทำหน้าที่อันเดียว
ในขณะที่คิดอารมณ์อันใดอยู่ก็เป็นเพียงอารมณ์เดียวเท่านั้น
เพราะฉะนั้นเพื่อกันจิตของเราไม่ให้คิดในทางชั่วมาก
เราก็ควรจะนำอารมณ์อันดีเข้าไปให้จิตทำหน้าที่ในขณะนั้น เช่น
คำบริกรรมภาวนาพุทโธ เป็นต้น
จิตก็จะห่างเหินจากอารมณ์ที่เคยเกาะเกี่ยวนั้น ซึ่งเป็นของไม่ดีนั้นเสีย
แล้วหมุนตัวเข้ามาสู่อารมณ์อันดี มีอารมณ์แห่งธรรม คือพุทโธเป็นต้น
ทำหน้าที่แทนต่อไป
ก็ควรจะได้รับประโยชน์และควรจะได้รับความสงบสำหรับผู้คิดเช่นนั้น


คัดลอกจาก

วันพุธที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

บทความ ภาวะผู้นำของพนักงานเทศบาลนครนครปฐม



การทำการตลาดยุคอินเตอร์เน็ท | Global Rich Club

www.richclubthai.com/tag/การทำการตลาดยุคอินเตอร/ - แคช
26 ต.ค. 2011 – ข้อมูล Global Rich Club ธุรกิจไลฟ์สไตล์ สร้างรายได้หลักแสน ... 3 ถึง 5 ดาวทั่วเอเชีย หรือ เรื่องรายมากมายได้ที่คุณจะได้รับ แต่กลับไม่มีคนพูดถึงเรื่อง ... องกรณ์ บริษัท หรือหน่วยงาน ใหญ่ๆต่าง หันมามองการตลาดทางอินเตอร์เน็ทกันหมดแล้ว ...





  • PGI 2 โมเดลใหม่พัฒนาทรัพยากรมนุษย์

    www.hrtothai.com/index.php?option=com_content... - แคชใกล้เคียง
     - บล็อกผลการค้นหาจาก www.hrtothai.com ทั้งหมด
    เหตุที่แรงงานได้รับความสนใจมากขึ้นทำให้ความสนใจที่จะเข้าใจในตัวคนงานและความ ต้องการต่างๆ ... ความซับซ้อนของธุรกิจยุคใหม่ทำให้การสร้างบุคลากรเป็นเรื่องที่ท้าทาย บรรดานัก ... (Global Perspective) มีนวัตกรรม (Innovation) และ มีความคิดบูรณาการ ( Integrative) ...








  • [DOC] 

    ยุทธศาสตร์การบริหารในยุคโลกาภิวัตน์

    suthep.cru.in.th/mgnt40.docใกล้เคียง
    รูปแบบไฟล์: Microsoft Word - มุมมองด่วน
    การบริหารคือการหาทางทำงานให้สำเร็จ การทำงานให้สำเร็จได้นั้น ... และโทรคมนาคม และ ด้านระบบคอมพิวเตอร์ ทำให้ยุคโลกาภิวัตน์จึงเป็นยุคที่ผู้คนทั้งโลกที่สามารถสื่อสาร ขนส่ง เดินทางไปมาหากันได้ ... โดยเฉพาะในยุคโลกาภิวัตน์ที่โลกเสมือนเล็กลง (Global Village) ...

  • บทความ วิชาการ ภาวะผู้นำของพนักงานเทศบาลนครนครปฐม

    ภาวะผู้นำของพนักงานเทศบาลนครนครปฐม

                            เทศบาลนครนครปฐม เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นองค์กรหนึ่ง ซึ่งเป็นองค์กรที่อยู่ใกล้ชิดประชาชนมากที่สุด มีภาระหน้าที่ในการรับผิดชอบ การให้บริการแก่ประชาชน ทำให้การปฏิบัติภารกิจในหน้าที่เป็นเรื่องผู้บริหารและพนักงานเทศบาล ต้องให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากการบริหารประชาชนที่ดีจะนำมาซึ่งประสิทธิภาพขององค์กร คณะผู้บริหารเทศบาลนครนครปฐม ที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชนในเขตเทศบาล โดยมีนายกเทศมนตรีเป็นผู้นำ และด้านหนึ่งคือข้าราชการประจำ โดยมีปลัดเทศบาลเป็นผู้บังคับบัญชา การบริหารงานของพนักงานเทศบาล จากการนำของปลัดเทศบาล จะยึดนโยบายจากกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น และนโยบายคณะผู้บริหารฝ่ายการเมืองเป็นหลัก การปฏิบัติงานจะยึดถือปฏิบัติอย่างถูกต้อง โดยอยู่ภายใต้ระเบียบและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ผู้บริหารตลอดถึงเจ้าหน้าที่จะต้องปฏิบัติอย่างเคร่งครัด ทำงานต้องโปร่งใส ตรวจสอบได้ การบริการราชการบรรลุเป้าหมาย โดยคำนึงถึงประโยชน์สุขของประชาชนให้เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐมีประสิทธิภาพและเกิดความคุ้มค่า การทำงานต้องไม่ มีขั้นตอนการปฏิบัติงานเกินความจำเป็น การปฏิบัติงานต้องให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลกในสภาพการณ์ปัจจุบัน โดยเฉพาะการดูแลทุกข์สุขของประชาชนต้องมียุทธวิธีหลากหลายรูปแบบบริหารจัดการ เพื่อให้ประชาชนในเขตเทศบาลได้กินดี อยู่ดีเป็นสำคัญ เทศบาลนครนครปฐม ได้ดำเนินการปฏิบัติภารกิจหน้าที่ตามนโยบายของกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นที่ว่า “บ้านเมืองน่าอยู่เชิดชูคุณธรรม และประโยชน์สุขของประชาชน” โดยได้แบ่งส่วนราชการในสำนักงานเทศบาลรับผิดชอบ ประกอบด้วยสำนักงานปลัดเทศบาล สำนักการคลัง สำนักการช่าง สำนักการสาธารณสุข สำนักการศึกษา กองวิชาการและแผนงาน กรมการประปา กองสวัสดิการสังคม และกองส่งเสริมวัฒนธรรม การท่องเที่ยว และกีฬา
                            นอกจากหน้าที่ที่ได้แบ่งให้แต่ละส่วนราชการรับผิดชอบแล้ว เทศบาลนครนครปฐม ยิ่งมีแผนพัฒนาเทศบาล ซึ่งมาจากความต้องการของประชาชน ความต้องการของคณะผู้บริหารเทศบาล และจากนโยบายการพัฒนาของกระทรวงมหาดไทย และกระทรวงอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ทุกส่วนราชการในสำนักงานเทศบาลนครนครปฐม และต้องปฏิบัติให้บรรลุตามแผนที่วางไว้ให้ได้มากที่สุด การปฏิบัติงานและการใช้จ่ายงบประมาณจะต้องเป็นไปด้วยความระมัดระวัง การปฏิบัติงานทุกครั้งจะต้องมีการวางแผน มีหลักการ การตัดสินใจต้องมีคุณภาพ การทำงานต้องเป็นทีม จึงเห็นได้ว่าความสำเร็จที่จะเกิดขึ้นนั้น ผู้ที่ทำหน้าที่เป็นผู้นำจะต้องใช้ประสบการณ์ ความรู้ ความสามารถ การเป็นมืออาชีพของผู้นำ และพัฒนาในทางบริหารงาน เพื่อที่จะให้ได้มาซึ่งประสิทธิภาพและประสิทธิผลของงาน ผู้บริหารในฐานะเป็นผู้นำของเทศบาลจะต้องมีหน้าที่ ที่จะต้องสร้างความร่วมมือ ร่วมใจกันเป็นอย่างดีในการทำงานร่วมกัน เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ร่วมกัน
                            เนื่องจากภารกิจหลักของเทศบาลนครนครปฐม เป็นภารกิจที่เกี่ยวข้องกับความเป็นอยู่ของประชาชนในชุมชน เกี่ยวข้องกับวิถีชีวิต ความเป็นอยู่ ประเพณีและวัฒนธรรมของท้องถิ่น ดังนั้นบทบาทของพนักงานเทศบาล จำเป็นต้องมีภาวะผู้นำในการขับเคลื่อนภารกิจที่รับผิดชอบ          จึงจำเป็นต้องได้รับการพัฒนาให้เกิดภาวะผู้นำเพื่อนำมาปฏิบัติงานให้ประสบความสำเร็จ ภารกิจของพนักงานในแต่ละส่วนราชการ ซึ่งมีทั้งหมด ส่วนราชการ ประกอบด้วย สำนักปลัดเทศบาล สถานธนานุบาล หน่วยตรวจสอบภายใน สำนักการคลัง สำนักการช่าง สำนักการสาธารณสุข สำนักการศึกษากองวิชาการและแผนงาน กองการประปา กองสวัสดิการสังคม และกองส่งเสริมวัฒนธรรมการท่องเที่ยวและกีฬา เพื่อให้สามารถเชื่อมโยงเข้ากับรูปแบบการพัฒนาภาวะของพนักงานเทศบาลนครนครปฐม ที่จะใช้กับการปฏิบัติงานว่าส่วนราชการใดมีความเหมาะสมกับ การปฏิบัติงานในภารกิจของส่วนราชการนั้น แบบภาวะผู้นำที่ใช้ในการปฏิบัติงานเทศบาลนครนครปฐม ได้นำรูปแบบภาวะผู้นำ ดังนี้
                            ภาวะผู้นำแบบผู้ให้การบริการ (Stewardship and Servant Leadership) ภาวะผู้นำแบบนี้เป็นการจัดการให้บุคคลอื่นมาก่อนตัวเรา และเมื่อรวมกันแล้วก็จะเป็นตัวอย่างของภาวะผู้นำที่ประสบความสำเร็จ หลักการสำคัญมีความเป็นผู้นำมีการสั่งการน้อยลง และมีการบริหารบุคคลอื่นมากขึ้น
                            แนวคิด ภาวะผู้นำบนพื้นฐาน Servant Leadership
                            ผู้แบบ Servant Leadership ใช้ภาวะผู้นำจากจุดยืนทางศีลธรรมที่เข็มแข็ง Servant Leadership ปฏิบัติงานจากทัศนะที่ว่า เรามีหน้าที่ทางศีลธรรมต่อลูกน้อง ภาวะผู้นำมองว่าเป็นโอกาสที่จะรับใช้ที่ระดับพื้นดินไม่ใช่เป็นผู้นำที่อยู่บนยอดหอคอย สิ่งที่เป็นแนวคิดพื้นฐานของ Servant Leadership ประกอบด้วย 4 ประการคือ
                            1.    ช่วยเหลือผู้อื่นให้ค้นพบจิตใจของตัวเอง บทบาทของ Servant Leadership เห็นอกเห็นใจในสิ่งแวดล้อมที่เกิดกับผู้อื่น Servant Leadership ไม่กลัวที่จะแสดงให้เห็นถึงความเปราะบางของตนเอง       
                            2.    การได้รับและการรักษาความไว้เนื้อเชื่อใจจากผู้อื่น ผู้นำแบบ Servant Leadership ได้รับความไว้ใจจากผู้ตามโดยสัจจะ และความจริงใจคำต่อคำ เขาไม่มีวาระซ้อนเร้น และพร้อมที่จะสละอำนาจ รางวัล เกียรติยศ หรือการครอบครอง
                            3.    การให้บริการโดยไม่คำนึงถึงผลประโยชน์ของตนเอง Servant Leadership คือ ความประสงค์ที่จะช่วยบุคคลอื่น มากกว่าต้องการได้อำนาจและการควบคุมบุคคลอื่น ทำในสิ่งที่ถูกสำหรับบุคคลอื่น ปกป้องตำแหน่งของตน Servant Leadership ตัดสินใจเพื่อประโยชน์ของกลุ่ม     ยิ่งกว่าส่งเสริมประโยชน์ของตน
                            4.    ฟังอย่างมีประสิทธิผล Servant Leadership จะไม่บอกให้กลุ่มทำอะไรตามแต่จะฟังปัญหาของกลุ่มอย่างตั้งใจ เผชิญหน้าและมีส่วนร่วมกับกลุ่มเพื่อหาทางเลือกที่ดีที่สุดที่จะปฏิบัติ Servant Leadership จะสร้างความมั่นใจในผู้อื่น การจะฟังอย่างรอบคอบถึงปัญหาที่คนอื่นประสบแล้วรวมกับกลุ่มหาหนทางที่ดีที่สุดในการแก้ปัญหา ผู้นำแบบนี้มีความเชื่อมั่นในตัวผู้อื่น
                            ภาวะผู้นำแบบให้บริการจะเป็นการบริการโดยไม่คำนึงถึงผลประโยชน์ของตนเอง การได้รับและการรักษาความ ไว้เนื้อเชื่อใจจากผู้อื่น การฟังอย่างมีประสิทธิผลและการช่วยเหลือผู้อื่นให้
                            ภาวะผู้นำแบบให้มีส่วนร่วม (Participative Leadership) ภาวะผู้นำแบบให้มีส่วนร่วมว่าเป็นการใช้วิธีการต่าง ๆ ในการตัดสินใจที่ยินยอมให้บุคคลอื่นมีอิทธิพลบางประการในการตัดสินใจของผู้นำ กล่าวคือ เป็นการใช้ประโยชน์ของการเข้าร่วมอันหมายรวมไปถึงการให้คำปรึกษา การตัดสินใจร่วมกัน การแบ่งปันอำนาจและการบริหารระบบประชาธิปไตย การเข้าร่วมภาวะผู้นำเป็นลักษณะของการแสดงออกทางพฤติกรรม ซึ่งแตกต่างไปจากพฤติกรรมในลักษณะของการทำงาน และพฤติกรรมในการสร้างความสัมพันธ์กับภาวะผู้นำแบบให้มีส่วนร่วมได้แบ่งได้ 4 รูปแบบ ดังนี้
                            1.    การตัดสินใจโดยเผด็จการ วิธีนี้ผู้บริหารตัดสินใจด้วยตนเองโดยไม่ต้องขอความเห็นจากใคร ไม่มีอิทธิพลจากบุคคลอื่นมาบังคับในการตัดสินใจ ดังนั้น จึงไม่มีการเข้าร่วมแต่ประการใด
                            2.    การให้คำปรึกษา วิธีนี้ผู้บริหารขอร้องให้บุคคลอื่นออกความคิดเห็น และข้อคิดเห็นต่าง ๆ แล้วทำการตัดสินใจด้วยตัวเองภายหลังจาก การพิจารณาอย่างรอบคอบตามคำปรึกษาดังกล่าว
                            3.    การตัดสินใจร่วม ผู้บริหารประชุมร่วมกับบุคคลอื่นเพื่ออภิปรายปัญหาและตัดสินใจร่วมกัน โดยไม่มีอิทธิพลเหนือผู้เข้าร่วมประชุมอื่นในการตัดสินใจแต่อย่างใด
                            4.    การมอบหมายงาน วิธีนี้ผู้บริหารมอบหมายให้บุคคลใดบุคคลหนึ่งหรือกลุ่มบุคคลมีอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบในการตัดสินใจ โดยปกติแล้ววิธีนี้ผู้บริหารจะกำหนดขอบเขตในการให้อำนาจเอาไว้ ซึ่งอาจให้การรับรองหรือไม่ให้การรับรองก็ได้ก่อนที่จะทำการตัดสินใจ
                            กระบวนการตัดสินใจว่าการตัดสินใจเป็นการเลือก การปฏิบัติจากหลายทางเลือกซึ่งเป็นหลักการวางแผน ผู้บริหารต้องเลือกโดยถือเกณฑ์ที่มีข้อจำกัด หรือขอบเขตโดยให้หลักเหตุผล กระบวนการตัดสินใจ โดยใช้หลักเหตุผล กระบวนการตัดสินใจโดยใช้หลักเหตุผล เป็นโมเดล   การตัดสินใจแบบคลาสสิค ประกอบด้วย 6 ขั้นตอน คือ การกำหนดปัญหาการค้นหาทางเลือก        การประเมินทางเลือก ทำการตัดสินใจเลือกทางเลือก การปฏิบัติการตามการตัดสินใจการประเมินผลลัพธ์ และจัดหาการป้อนกลับ
                            ภาวะผู้นำเชิงปฏิรูป (Transformational Leadership) ภาวะผู้นำเชิงปฏิรูปเป็นกระบวนการของการนำ เพื่อการเปลี่ยนแปลงมากกว่าการคงที่ โดยทำภารกิจ ดังนี้
                            (1) เป็นผู้นำที่กระตุ้นบุคคลให้ทำงานโดยทำให้มีภารกิจที่มากขึ้น มีจุดมุ่งหมาย                   ที่สูงขึ้น มีความเชื่อมั่นในความสามารถที่จะบรรลุภารกิจพิเศษที่กำหนดไว้อย่างชัดเจน (2) ผู้นำซึ่งจุดประกายให้ผู้ตามคล้อยตามให้บรรลุถึงความสนใจเพื่อประโยชน์ต่อองค์การ (3) เป็นบุคคลซึ่ง          มีความสามารถ ที่มีอิทธิพลเหนือผู้ตาม ดังที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น จะเห็นได้ว่า ภาวะผู้นำ                เชิงปฏิรูปเป็นลักษณะของผู้นำที่มีความสามารถนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ ด้วยการทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ ในวิสัยทัศน์ กลยุทธ์ และวัฒนธรรมขององค์การ ตลอดทั้งการส่งเสริมนวัตกรรมในผลิตภัณฑ์และเทคโนโลยี ผู้นำเชิงปฏิรูปจะไม่ใช้สิ่งจูงใจที่มีตัวตน เพื่อควบคุมการเปลี่ยนแปลงที่เฉพาะกับผู้ตาม แต่จะมุ่งด้านคุณด้วย เช่น วิสัยทัศน์ ค่านิยมร่วม และความคิด            เพื่อสร้างความสัมพันธ์ มีการเปลี่ยนแปลงกิจกรรมที่มีความสำคัญและค้นหากระบวนการเปลี่ยนแปลงให้ผู้ตาม ภาวะผู้นำเชิงปฏิรูปจะขึ้นอยู่กับค่านิยมส่วนบุคคล ความเชื่อและคุณภาพของผู้นำ จุดมุ่งหมายของภาวะผู้นำเชิงปฏิรูป คือมุ่งความสำเร็จมากกว่าลักษณะเฉพาะของผู้นำ และ       มุ่งความสัมพันธ์กับสมาชิกของกลุ่ม
                            ลักษณะผู้นำเชิงปฏิรูปประกอบด้วยลักษณะสำคัญ 2 ประการ คือ
                            1.    วิธีการเปลี่ยนแปลงเชิงปฏิรูปที่เกิดขึ้น ผู้นำมักจะต้องเผชิญหน้ากับความต้องการที่เปลี่ยนแปลงองค์การจากการปฏิบัติงานที่ไม่ดีไปสู่ผลการปฏิบัติงานที่สามารถยอมรับได้ หรือ จากผลการปฏิบัติงานที่สามารถยอมรับได้ไปสู่ผลการปฏิบัติงานที่สูงมากยิ่งขึ้น ผู้มีอำนาจได้รับ การคาดหวังที่จะเปลี่ยนแปลงบริษัทจากสิ่งที่วิกฤตไปสู่มาตรฐานที่ดีขึ้น เพื่อสร้างความสำเร็จให้กับเป้าหมายขององค์การ ซึ่งผู้นำเชิงปฏิรูปจะต้องพยายามปรับปรุงวัฒนธรรมองค์การ หรือวัฒนธรรมกลุ่มย่อยโดยพยายามสร้างกระบวนการของการเปลี่ยนแปลงองค์การ โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
                                    1.1    เพิ่มการรับรู้ของพนักงาน
                                    1.2    การช่วยเหลือของพนักงานให้เกิดความสนใจสิ่งอื่นที่นอกเหนือจากผลประโยชน์ของตัวเอง
                                    1.3    การช่วยเหลือพนักงานให้แสวงหาการปฏิบัติเพื่อบรรลุผลสำเร็จด้วยตนเอง
                                    1.4    การช่วยเหลือพนักงานให้เข้าใจถึงความจำเป็นที่ต้องมีการเปลี่ยนแปลง
                                    1.5    การเป็นผู้บริหารที่มีการตอบสนองโดยฉับพลัน
                                    1.6    ความมุ่งมั่นสู่ความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่
                                    1.7    การยอมรับทัศนะที่กว้างไกลในระยะยาว
                            2.    คุณภาพสำคัญ 4 ประการของผู้นำเชิงปฏิรูป ผู้นำเชิงปฏิรูปจะมีลักษณะส่วนตัวที่เป็นภาวะผู้นำที่มีประสิทธิผล ด้านคุณภาพ 4 ประการที่มีประโยชน์กระทำให้เกิดการปฏิรูป ดังนี้
                                    2.1    ผู้นำเชิงปฏิรูปจะเป็นผู้มีความสามารถพิเศษ ผู้นำเชิงปฏิรูปจะมีวิสัยทัศน์และความรู้สึกของภาระหน้าที่ มีความเอาใจใส่ในงาน มีความมั่นใจ ด้วยผลจากประสบการณ์ที่เกี่ยวกับชื่อเสียงของผู้นำ ซึ่งจะทำให้สมาชิกของกลุ่มมีความซื่อสัตย์ มีความภาคภูมิใจ มีความศรัทธาอย่างแรงกล้า มีความภักดีและไว้วางใจในสิ่งที่ผู้นำต้องการที่จะทำให้สำเร็จ
                                    2.2    ผู้นำเชิงปฏิรูป จะมีลักษณะภาวะผู้นำที่มีความสามารถที่จะจูงใจผู้ใต้บังคับบัญชาให้กระทำตามที่ตนต้องการ ผู้นำเชิงปฏิรูป จะมีความสามารถชักจูงผู้ใต้บังคับบัญชา ให้ทำตามโดยมีการสื่อสารวิสัยทัศน์อย่างชัดเจนและมั่นใจ มีอารมณ์ดีตลอดจนสร้างความรู้ความเข้าใจให้ถูกต้องแก่ผู้ใต้บังคับบัญชา
                                    2.3    ผู้นำเชิงปฏิรูป จะมีแรงกระตุ้นด้านสติปัญญา ผู้นำเชิงปฏิรูปจะมีการกระตุ้นสมาชิกของกลุ่มให้ทดสอบด้วยวิธีการเก่าหรือวิธีการใหม่ ๆ มีการสร้างบรรยากาศ ซึ่งกระตุ้นความคิดสร้างสรรค์ และความคิดที่เกิดขึ้นเองจากการหยั่งรู้ หรือการหยั่งรู้ในลักษณะเดียวกัน             ก็จะเน้นวิธีการแก้ปัญหา การคิดใหม่ การทดสอบสมมติฐานใหม่ และการใช้เหตุผลด้วยความรอบคอบ เหล่านี้ทำให้สมาชิกของกลุ่มจะเกิดการยอมรับและมีการพัฒนาด้านสติปัญญา
                                    2.4    ผู้นำเชิงปฏิรูป จะให้ความสำคัญเป็นรายบุคคลมีการพัฒนาความสามารถของผู้ใต้บังคับบัญชา ศึกษาความต้องการของแต่ละบุคคล ให้ความสำคัญและความเชื่อถือในแต่ละบุคคล ผู้นำจะให้ความสนใจพิเศษแก่สมาชิกของกลุ่มเป็นรายบุคคล ผู้นำเชิงปฏิรูปจะใช้เวลาในการสื่อสารแบบตัวต่อตัวกับสมาชิกของกลุ่ม และรับฟังความคิดเห็นอย่างสนใจ ขณะเดียวกันก็จะทำให้สมาชิกของกลุ่มเกิดความรู้สึกเคารพผู้นำเชิงปฏิรูป จะเน้นการพัฒนาสมาชิกของกลุ่มเป็นรายบุคคลด้วยการพูดคุยเกี่ยวกับเป้าหมายอาชีพและโอกาสในการพัฒนาของแต่ละบุคคล
                            ภาวะผู้นำที่มีความสามารถพิเศษ (Charismatic Leadership) ภาวะผู้นำที่มีความสามารถพิเศษ เป็นผู้ที่ใช้อำนาจได้อย่างมีคุณภาพ ความสามารถพิเศษ เป็นปัจจัยของผู้นำในการจูงใจผู้อื่น หรือก่อให้เกิดความเชื่อถือ ความเคารพ ความนิยม ความสามารถในการถ่ายทอดความรู้สึก มีการมอบอำนาจหน้าที่ และการสร้างภาพพจน์ที่ดีให้ผู้ใต้บังคับบัญชา โดยมีรายละเอียดดังนี้
                            1.    ความสามารถพิเศษ (Charisma) สิ่งสำคัญของภาวะผู้นำที่มีความสามารถพิเศษคือ การที่มีส่วนร่วมในความสัมพันธ์ หรือการมีปฏิกิริยาโต้ตอบซึ่งกันและกันระหว่างผู้นำและผู้ตาม ยิ่งไปกว่านั้นบุคคลที่จะได้รับการยอมรับในภาวะผู้นำจะต้องมีลักษณะความสามารถพิเศษ ที่จะเป็นผู้นำด้วย จอห์น การ์ดเนอร์ (John Gardner) เชื่อว่าความสามารถพิเศษจะใช้เพื่อเป็นองค์ประกอบสำคัญสำหรับผู้นำ ซึ่งผู้นำเช่นนี้จะมีพรสวรรค์ที่พิเศษในการสร้างแรงบันดาลใจ และใช้การติดต่อสื่อสารที่มีเหตุผล ในขณะเดียวกัน การตอบสนองต่อองค์ประกอบต่าง ๆ ก็มีลักษณะที่ทำให้เกิดความน่าเกรงขาม ความน่าเคารพ เชื่อถือ การทำให้เกิดความจงรักภักดี หรือการเป็นที่พึ่งพาซึ่งกันและกันด้านอารมณ์
                            2.    ผลกระทบความสามารถพิเศษ ผู้ที่มีความสามารถพิเศษ เป็นผู้นำที่สามารถดึงดูดใจให้คนอื่นต้องยอมทำตาม เป็นผู้นำที่มีความสามารถจูงใจบุคคลอื่นให้ปฏิบัติตามคำสั่งโดยไม่ต้องมีคำถาม โรเบิร์ต เฮ้าส์ (Robert House) อ้างถึงใน รังสรรค์ ประเสริฐศรี (2544 : 50 – 51) ได้พัฒนาทฤษฎีภาวะผู้นำที่มีความสามารถพิเศษ โดยได้ให้คำจำกัดความคำว่า ความสามารถพิเศษ ว่ามีความหมายเช่นเดียวกับคำว่าผลกระทบ คือเป็นบุคคลซึ่งทำให้เกิดผลลัพธ์ที่แน่นอนในระดับสูง      ซึ่งเป็นผลจากความสามารถพิเศษและ กล่าวถึง ทฤษฎีภาวะผู้นำที่มีความสามารถพิเศษ ซึ่งพอสรุปสาระสำคัญโดยพิจารณาจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นต่อไปนี้
                                    2.1    ผู้ใต้บังคับบัญชาให้ความไว้วางใจ ในการกระทำที่ถูกต้องของผู้นำ
                                    2.2    ผู้ใต้บังคับบัญชาเกิดความเชื่อถือในผู้นำ
                                    2.3    ผู้ใต้บังคับบัญชายอมรับ การกระทำของผู้นำ
                                    2.4    ผู้ใต้บังคับบัญชาจะไม่มีการพูดให้ร้ายต่อผู้นำเพราะมีความชอบในตัวผู้นำ
                                    2.5    ผู้ใต้บังคับบัญชาจะอยู่ในโอวาทเชื่อฟัง
                                    2.6    ผู้ใต้บังคับบัญชาเกิดการเอาอย่างผู้นำ
                                    2.7    ผู้ใต้บังคับบัญชาจะมีอารมณ์อยากทำงานร่วมกับกลุ่ม
                                    2.8    ผู้ใต้บังคับบัญชาปฏิบัติงานให้เป็นไปตามเป้าหมายในระดับสูง
                                    2.9    ผู้ใต้บังคับบัญชาอุทิศตนเพื่อความสำเร็จในงานหรือกลุ่ม หรือรับรู้ที่จะช่วยเหลือกลุ่มให้บรรลุภารกิจ
                            คุณสมบัติของผู้นำที่มีภาวะผู้นำความสามารถพิเศษ ก็คือปรากฏการณ์ด้านคุณสมบัติของผู้นำ โดยระบุสาระสำคัญ ดังต่อไปนี้
                            1.    มีวิสัยทัศน์ที่เข้มแข็ง และมีความสามารถพิเศษในการใช้วิสัยทัศน์ เพื่อรักษาความนิยมจากผู้ใต้บังคับบัญชาเอาไว้
                            2.    มีความกล้าเสี่ยง ผู้นำที่มีความสามารถพิเศษต้องมีความเสียสละส่วนตัว กล้าเผชิญความเสี่ยงด้านการเงิน ความสำเร็จในการทำให้เกิดวิสัยทัศน์ร่วมกัน
                            3.    ใช้กลยุทธ์ที่ไม่จำเป็นต้องมีระเบียบแบบแผน ผู้นำที่มีความสามารถพิเศษอาจต้องทำงานที่ยืดหยุ่นได้และมีการกระทำการบางอย่างแบบที่ไม่จำเป็นต้องมีระเบียบแบบแผนเพื่อให้ได้รับผลทางวิสัยทัศน์ร่วมกัน
                            4.    คาดคะเนเหตุการณ์ได้ถูกต้อง เป็นสิ่งสำคัญที่ผู้นำต้องมีทักษะและความเชี่ยวชาญในการคาดการณ์สภาวการณ์ที่อาจเกิดขึ้นได้อย่างแท้จริง ตลอดจนผู้นำที่มีความสามารถพิเศษจะใช้กลยุทธ์เพื่อหลีกเลี่ยงการเสี่ยงภัย รู้จักใช้กลยุทธ์ให้มีความเหมาะสมกับโอกาส
                            5.    บอกความจริงให้ผู้ใต้บังคับบัญชาได้ทราบ ผู้นำต้องแจ้งให้ผู้ใต้บังคับบัญชาได้ทราบถึงวิกฤตการณ์ที่จะเกิดขึ้นและสิ่งที่มีผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงที่จะตามมาถึงผู้ใต้บังคับบัญชาของตน
                            6.    ทำการติดต่อสื่อสารด้วยความเชื่อมั่นในตนเอง ผู้นำต้องแสดงความเชื่อมั่นเกี่ยวกับข้อเสนอแนะต่าง ๆ ที่นำมาพิจารณาโดยใช้ความสามารถพิเศษที่มีอยู่แก้ไขสถานการณ์        ให้ผ่านพ้นไปด้วยดี
                            7.    รู้จักใช้อำนาจส่วนตัว ผู้นำต้องรู้จักใช้ความสามารถพิเศษของตนให้เกิดอิทธิพลต่อผู้ใต้บังคับบัญชา เพื่อให้อำนาจอย่างเหมาะสมในการทำงานประสบความสำเร็จ ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงโดยไม่ต้องปฏิบัติตามระเบียบแบบแผนอย่างเคร่งครัด ซึ่งการใช้อำนาจนั้นต้องให้สอดคล้องกับการรับรู้ของผู้ใต้บังคับบัญชาด้วย
                            จากที่ได้กล่าวมาชี้ให้เห็นว่า ความสามารถพิเศษ เป็นคำที่แสดงให้เห็นคุณลักษณะ ของบุคคลได้อย่างชัดเจน ซึ่งมีความหมายและมิติที่แตกต่างกัน โดยสามารถแบ่งได้เป็น 5 ชนิด คือ (1) ผู้นำที่มีความสามารถพิเศษทางด้านสังคม (2) ผู้นำที่มีความสามารถพิเศษซึ่งมุ่งที่ตนเอง (3) ผู้นำที่มีความสามารถพิเศษด้านการควบคุมด้านสำนักงาน (4) ผู้นำที่มีความสามารถพิเศษเฉพาะตัว      (5) ผู้นำที่มีความสามารถพิเศษด้านพรสวรรค์ อาจกล่าวได้ว่าลักษณะของผู้นำที่มีความสามารถพิเศษ เป็นความสามารถในการดลใจลูกน้อง ประกอบทั้งมีความสามารถในการจูงใจบุคคลอื่น       ให้ปฏิบัติตามคำสั่ง โดยไม่ต้องมีคำถาม บุคคลเหล่านี้จะมีลักษณะเด่นอื่น ๆ ซึ่งลักษณะเหล่านี้ใช้ได้กับผู้นำเชิงปฏิรูปด้วย ผู้นำที่มีความสามารถพิเศษจำนวนมาก อาจไม่ใช้การปฏิรูป ถึงแม้ผู้นำเหล่านี้จะสามารถดลบันดาลใจบุคคลอื่นได้แต่พวกเขาอาจไม่ทำให้การเกิดการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญเช่นเดียวกับผู้นำเชิงปฏิรูป
                            ผู้นำที่มีคุณลักษณะพิเศษมีลักษณะที่สำคัญ ดังนี้
                            1.    เป็นผู้นำที่มีวิสัยทัศน์
                            2.    เป็นผู้มีความสามารถด้านทักษะการสื่อสาร
                            3.    เป็นผู้ที่มีความสามารถก่อให้เกิดความไว้วางใจ
                            4.    เป็นผู้ที่สามารถทำให้สมาชิกของกลุ่มรู้สึกว่าเขามีความสามารถ
                            5.    เป็นผู้ที่มีพลังและมุ่งที่การปฏิบัติให้บรรลุผล
                            6.    เป็นผู้ที่มีการแสดงอารมณ์ได้อย่างเหมาะสมและมีความเอื้ออาทรหรือให้ความอบอุ่นกับผู้อื่น
                            7.    เป็นผู้ที่ชอบที่จะเสี่ยง
                            8.    เป็นผู้ที่ใช้กลยุทธ์ใหม่ที่มีลักษณะโดดเด่น (ไม่ต้องทำตามแบบดังเดิม)
                            9.    เป็นผู้ที่มีบุคลิกภาพที่ส่งเสริมตนเอง
                            10.  เป็นผู้ที่พยายามที่จะมีความขัดแย้งภายในให้น้อยที่สุด
                            ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ (Strategic Leadership) เนื่องจากกระแสโลกาภิวัตน์ที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ได้ส่งผลกระทบอย่างยิ่งต่อองค์การ ผู้นำระดับสูงจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนทิศทางวิธีการคิด และการบริหารแบบใหม่ที่สอดคล้องทันต่อการเปลี่ยนแปลง ได้มีความพยายามในการวางแผนกลยุทธ์อย่างสมบูรณ์ที่ครอบคลุมกิจการทั้งหมดขององค์การ ทำให้มีการนำเอาเรื่องของกระบวนการบริหารงาน โดยเฉพาะการนำเอากลยุทธ์ ไปปฏิบัติ เช่น การจัดการโครงสร้างองค์การ วัฒนธรรมองค์การ เทคโนโลยีสารสนเทศ ทรัพยากรบุคคล ตลอดจนการควบคุม และประเมินผลกลยุทธ์เข้ามาบูรณาการร่วมกัน เป็นรูปแบบการบริหารเชิงกลยุทธ์ โดยผู้นำระดับสูงขององค์การ ซึ่งเป็นระดับกลยุทธ์ เป็นบุคคลที่ต้องมีหน้าที่รับผิดชอบโดยตรง ต่อการบริหารเชิง กลยุทธ์ขององค์การในทุกขั้นตอน กล่าวโดยสรุปการบริหารเชิงกลยุทธ์ดังกล่าวประกอบขึ้นด้วยขั้นตอนสำคัญ 3 ส่วน ดังนี้
                            1.    ขั้นการวางกลยุทธ์ ได้แก่ การพิจารณาวิสัยทัศน์ และภารกิจขององค์การ              การกำหนดวัตถุประสงค์ขององค์การการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอกและขีดสมรรถนะภายใน และการวิเคราะห์และเลือกกลยุทธ์
                            2.    ขั้นการนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติ ได้แก่ การกำหนดเป้าหมายการดำเนินงาน                    การวางแผนปฏิบัติการ การสนับสนุนกลยุทธ์ด้วยโครงสร้างวัฒนธรรม บุคลากรเทคโนโลยีสารสนเทศและกระบวนการทำงาน
                            3.    ขั้นการควบคุมและการประเมินผลเชิงกลยุทธ์ ได้แก่ การตรวจสอบผลการดำเนินงาน การติดตามสถานการณ์และเงื่อนไขต่าง ๆ
                            และได้กล่าวถึงระดับกลยุทธ์ขององค์การว่า การจัดวางกลยุทธ์ในองค์การขึ้นอยู่กับลักษณะความสลับซับซ้อนของงานในแต่ละองค์การ สำหรับหน่วยงานที่มีขนาดค่อนข้างเล็ก และดำเนินงานด้านหนึ่งด้านใดเพียงอย่างเดียว รูปแบบองค์ประกอบของกลยุทธ์ก็จะประกอบด้วย           กลยุทธ์ใน 2 ระดับ ได้แก่
                            1.    กลยุทธ์ในระดับส่วนรวม เป็นกลยุทธ์ที่ครอบคลุมภาพกว้าง โดยรวมทั้งองค์การ ที่เกี่ยวข้องกับทิศทางและเจตจำนงขององค์การในอนาคต เพื่อให้แน่ใจว่าสิ่งที่จะดำเนินการต่อไปนั้น เป็นสิ่งที่ถูกต้องเหมาะสมที่สุด
                            2.    กลยุทธ์ในระดับส่วนงาน เป็นกลยุทธ์เฉพาะที่เกี่ยวกับการปฏิบัติงานในแต่ละหน้าที่งาน เช่น การตลาด การเงิน งานบุคลากร การผลิต การวิจัยและพัฒนา เป็นต้น เพื่อให้แน่ใจว่างานที่จะต้องทำในแต่ละส่วนนั้นเป็นไปอย่างถูกต้อง
                            ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ขององค์การ จากองค์ประกอบของกลยุทธ์ดังกล่าวแล้วผู้บริหารในแต่ละระดับ ต่างจำเป็นต้องเข้ามามีบทบาทเกี่ยวข้องกับการวางกลยุทธ์โดยแบ่งเป็น 2 ระดับ ได้แก่
                            1.    ภาวะผู้นำในระดับสูง ได้แก่ ผู้บริหารระดับสูงขอององค์การ ซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบโดยตรงในการวางแผนกลยุทธ์ เพื่อกำหนดทิศทางและจุดมุ่งหมายรวมขององค์การ ตลอดจนปรัชญาและหลักการพื้นฐานที่เกี่ยวกับการดำเนินการต่าง ๆ ขององค์การโดยรวมทั้ง          ทำการตัดสินใจในการเลือกกลยุทธ์และจัดสรรทรัพยากรระหว่างกลุ่มงานต่าง ๆ ให้มีความเหมาะสม ผู้บริหารระดับสูงดังกล่าวมีขอบเขตความรับผิดชอบครอบคลุมทั้งองค์การ รวมทั้งเน้นการดำเนินงานภายนอกองค์การ จึงเป็นลักษณะภาวะผู้นำแบบมหภาค คือมีบทบาทที่ส่งผลกระทบในวงกว้างตลอดทั้งองค์การ จึงเรียกภาวะผู้นำในระดับสูงนี้ว่า “ผู้นำเชิงกลยุทธ์” เพราะเป็นผู้ที่มีความสามารถในการยืดหยุ่นและปรับตัวอยู่เสมอ และมีมุมมองระยะยาวที่เป็นเป้าหมายในการนำทางให้กับองค์การได้อย่างชัดเจน
                            2.    ภาวะผู้นำในระดับจุลภาค ได้แก่ ผู้บริหารระดับกลางและระดับต้นขององค์การ ซึ่งเป็นผู้ที่รับแผนกลยุทธ์จากผู้บริหารระดับสูงนำไปถ่ายทอดสู่ภาคปฏิบัติเป็นผู้บริหารที่ขอบเขตความรับผิดชอบต่องานหน้าที่เฉพาะด้าน เช่น การผลิต การตลาด การเงิน การบุคลากร เป็นต้น ผู้บริหารเหล่านี้จะจัดวางกลยุทธ์เฉพาะด้านและแผนปฏิบัติการของตนขึ้นมารับรองแผนกลยุทธ์

                            ผู้นำเชิงกลยุทธ์แบ่งได้เป็น 4 ประเภท คือ
                            1.    ผู้นำเชิงกลยุทธ์แบบผู้สร้างสรรค์ที่ควบคุม เป็นผู้นำที่ชอบแสวงหาความท้าทายสูงแต่ยังเน้นการควบคุมการปฏิบัติภารกิจตามหน้าที่ต่าง ๆ ขององค์การอย่างเข้มงวด ผู้บริหารแบบ HCI จะมองสิ่งแวดล้อมว่าเป็นโอกาส และเต็มใจที่จะใช้เทคโนโลยีก้าวหน้าชั้นสูงมาช่วยให้บรรลุเป้าหมาย เป็นผู้นำที่แสวงหากลยุทธ์ที่มีลักษณะริเริ่มใหม่และมีความเสี่ยงทั้งระดับองค์การและระดับส่วนงานเพื่อให้สามารถเข้าสู่ตลาดใหม่หรืออุตสาหกรรมใหม่ได้
                            2.    ผู้นำเชิงกลยุทธ์แบบผู้รักษาสถานภาพเดิม ผู้นำแบบนี้ไม่แสวงหาความท้าทาย          แต่ต้องการที่จะคงการควบคุมเอาไว้ โดยจะควบคุมงานตามหน้าที่ต่าง ๆ ขององค์กรไว้ที่ตนและมักปฏิเสธการกระทำใด ๆ ที่ตนเห็นว่าเป็นการเสี่ยง เป็นผู้ที่เชื่อว่าการเปลี่ยนแปลงของสภาวะแวดล้อมภายนอกเป็นภัยคุกคาม และจะใช้ความพยายามทุกวิถีทางที่จะปกป้องมิให้องค์การของตนได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงนั้นเป็นผู้นำที่ไม่แสวงหากลยุทธ์ใหม่ที่สร้างสรรค์ แต่จะยึดติดอย่างเหนียวแน่นกับแนวคิดเดิม หรือกลยุทธ์ที่ผ่านการทดสอบแล้วเท่านั้นองค์การที่ดำเนินการภายใต้ผู้นำแบบนี้ จึงยากที่จะปรับปรุงพัฒนาให้เป็นผู้นำอุตสาหกรรมที่มีผลผลิตและนวัตกรรมใหม่ ๆ ออกมาสู่ตลาด เป็นองค์การที่อาจเรียกได้ว่ามีประสิทธิภาพและมีค่าใช้จ่ายต่ำ
                            3.    ผู้นำเชิงกลยุทธ์แบบผู้สร้างสรรค์ให้มีส่วนร่วม ผู้นำแบบมีมุ่งแสวงหาโอกาส ความท้าทายและการริเริ่มใหม่จากภายนอก ในขณะที่การดำเนินงานภายในองค์การจะสร้างระบบโครงสร้างแบบหลวม ๆ ที่มีความยืดหยุ่น มีลักษณะที่เปิดกว้างสูง เน้นวัฒนธรรมองค์การด้วยค่านิยมการมีส่วนร่วมและการเปิดเผย ผู้นำแบบนี้มองการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจากภายนอกว่าเป็นการสร้างโอกาสใหม่ ๆให้แก่องค์การได้มากมายและพร้อมเปิดรับกระแสอิทธิพลภายนอกเข้าสู่องค์การเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทุกด้าน โดยเฉพาะด้านเทคโนโลยีใหม่ ๆ เป็นผู้นำที่มุ่งแสวงหาความท้าทายและมีแนวโน้มที่จะเลือกกลยุทธ์ที่มีความเสี่ยงสูง องค์การที่บริหารภายใต้ผู้นำแบบนี้เป็นที่รู้จักทั่วไปในฐานะที่มีความเป็นหนึ่งในด้านเทคโนโลยี การริเริ่มสร้างสรรค์ทางการบริหาร และการเริ่มด้านนวัตกรรม
                            4.    ผู้นำเชิงกลยุทธ์แบบผู้บริหารกระบวนการ เป็นผู้นำที่ชอบกลยุทธ์แบบอนุรักษ์นิยมที่ยึดติดกับแนวคิดหรือวิธีการเดิมที่ผ่านการพิสูจน์มาแล้ว ชอบหลีกเลี่ยงนวัตกรรมใหม่ที่อาจมีความเสี่ยง แต่เนื่องจากผู้นำประเภทนี้มีความต้องการอำนาจควบคุมอยู่ในระดับต่ำ จึงยอมรับความหลากหลายทางความคิดและการเปิดกว้างขึ้นในองค์การ พนักงานไม่ถูกบังคับให้ต้องยึดติดกับเป้าหมายและนวัตกรรมร่วมกัน แต่ละคนจะมีอิสระและการปฏิบัติงานประจำวันจะไม่ถูกวัดในเรื่องมาตรฐานมากนักตราบเท่าที่ยังไม่ส่งผลเสียหายร้ายแรงแก่องค์การ
                            ในสภาพความเป็นจริงขององค์การพบว่า มีผู้นำเชิงกลยุทธ์ทั้ง 4 ประการดังกล่าวที่เป็นผู้นำที่ประสบความสำเร็จและเป็นผู้นำที่มีประสิทธิผลอยู่ในองค์การทั่วไป ในตารางต่อไปนี้          เป็นสรุปผลที่ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์แบบต่าง ๆ มีต่อแรงกดดันเชิงกลยุทธ์ทั้งหกประการดังกล่าว
                            เทศบาลนครนครปฐมมีการจัดอบรมสัมมนาให้หัวหน้าฝ่ายแต่ละฝ่ายซึ่งจะต้องเตรียมพร้อมและสร้างคุณสมบัติเฉพาะให้บริการในแต่ละส่วนราชการ ดังนี้
                            สำนักงานการศึกษา เป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบดูแลเกี่ยวกับการดำเนินงานด้านการจัดการศึกษาของโรงเรียนในสังคมเทศบาล งานเกี่ยวกับศาสนา งานส่งเสริมประเพณีศิลปวัฒนธรรมของท้องถิ่น ตลอดจนงานกีฬาและเยาวชน มีผู้อำนวยการสำนักการศึกษาเป็นหัวหน้าหน่วยงาน จะเห็นได้ว่าภารกิจของส่วนราชการนี้ ลักษณะของการทำงาน เป็นงานที่ผู้ปฏิบัติจะต้องศึกษาให้รอบรู้ถึงกรอบงานว่ามีแนวทางในการปฏิบัติงานอย่างไร มีกฎหมายใดบ้างที่เกี่ยวข้องต้องมีความสามารถในการชี้นำแนวทางปฏิบัติให้แก่บุคคลอื่นได้ ผู้ที่ทำหน้าที่เป็นผู้นำก็จะต้องสร้างความศรัทธาให้เกิดแก่ผู้ตามให้ได้ ผู้นำจะต้องสามารถกำหนดทิศทางในการทำงานได้อย่างถูกต้องเหมาะสม เป็นแบบอย่างที่ดีของการทำงาน รู้จักพัฒนาตนเอง พัฒนางานพัฒนาหน่วยงาน และในการทำงานนั้น การมีส่วนร่วมของทีมงานเป็นสิ่งสำคัญมาก คุณลักษณะดังกล่าวจะตรงกับคุณลักษณะภาวะผู้นำแบบเชิงกลยุทธ์ ภาวะผู้นำแบบที่มีความสามารถพิเศษ ภาวะผู้นำแบบให้มีส่วนร่วม และภาวะผู้นำแบบเชิงปฏิรูป
                            สำนักการคลัง เป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่เกี่ยวกับด้านการเงินและการบัญชี พัสดุและทรัพย์สินของเทศบาล และเกี่ยวกับการตรวจสอบงบประมาณ มีผู้อำนวยการสำนักการคลัง              เป็นหัวหน้าหน่วยงาน ลักษณะของการทำงานต้องอาศัยการทำงานที่ผู้ปฏิบัติจะต้องศึกษาให้รอบรู้ในระเบียบกฎหมาย ข้อบังคับ เกี่ยวกับการใช้งบประมาณ การเป็นแบบอย่างที่ดีของการทำงาน ยึดถือกฎระเบียบอย่างเคร่งครัด มีความซื่อสัตย์ในการทำงาน การดูแลติดตามเอาใจใส่ในงานที่ตนรับผิดชอบ รู้จักพัฒนาวิธีทำงานของตนให้มีความถูกต้องไม่ผิดพลาด คุณลักษณะดังกล่าวตรงกับคุณลักษณะของภาวะผู้นำแบบที่มีความสามารถพิเศษ ภาวะผู้นำแบบเชิงกลยุทธ์ และภาวะผู้นำแบบเชิงปฏิรูป
                            สำนักงานช่าง เป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบดูแลเกี่ยวกับการดำเนินงานด้านงานโยธา งานสาธารณูปโภคเกี่ยวกับไฟฟ้าน้ำประปา โดยมีผู้อำนวยการสำนักการช่าง เป็นหัวหน้าหน่วยงาน ลักษณะของการทำงานต้องอาศัยการทำงาน ที่ผู้ปฏิบัติจะต้องศึกษาให้เข้าใจถึงแนวทางในการปฏิบัติเกี่ยวกับการช่าง การโยธา การออกแบบ ระเบียบ กฎหมาย การให้บริการประชาชนที่มาขอรับความช่วยเหลือในเรื่องสาธารณูปโภค ซ่อมบำรุงต่าง ๆ ต้องสามารถตัดสินใจปฏิบัติการได้อย่างถูกต้องและเหมาะสมผู้ที่ทำหน้าที่เป็นผู้นำ ก็จะต้องสามารถกำหนดทิศทางของการทำงานได้อย่างถูกต้อง สอดคล้องกับปัจจัยต่าง ๆ ขององค์กร สามารจูงใจให้ทีมงานนำการตัดสินใจลงสู่การปฏิบัติงานได้ เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน จะต้องเป็นผู้รู้หลักในการให้บริการที่ดี รู้จักปรับปรุงวิธีการทำงานที่ทันเหตุการณ์ นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงและความสำเร็จของงานได้ คุณลักษณะดังกล่าวตรงกับคุณลักษณะภาวะผู้นำแบบภาวะผู้นำแบบเชิงกลยุทธ์ ภาวะผู้นำแบบที่มีความสามารถพิเศษ ภาวะผู้นำแบบผู้ให้บริการ และภาวะผู้นำแบบเชิงปฏิรูป
                            กองวิชาการและแผนงาน เป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบดูแลเกี่ยวกับ                     การดำเนินงานด้านการวิเคราะห์นโยบายและแผนงาน จัดทำแผนพัฒนาของเทศบาล งานนิติกร         มีผู้อำนวยการกองวิชาการและแผนงาน เป็นหัวหน้าหน่วยงาน ลักษณะของการทำงานต้องอาศัยการทำงานที่ผู้ปฏิบัติจะต้องศึกษาให้เข้าใจถึงแนวทางในการปฏิบัติงานร่วมกับชุมชน ตลอดจนระเบียบ กฎหมายที่ใช้ในการวินิจฉัยปัญหาผู้ที่ทำหน้าที่เป็นผู้นำก็จะต้องมีความสามารถในการ         จูงใจให้ทีมงานนำการตัดสินใจลงสู่การปฏิบัติงานได้ เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน จะต้องเป็นผู้รู้หลักในการทำงานร่วมกับชุมชน รู้จักการพัฒนาตนเอง พัฒนางานให้มีความทันสมัยทันเหตุการณ์นำไปสู่ความสำเร็จของงานได้ คุณลักษณะดังกล่าวตรงกับคุณลักษณะภาวะผู้นำแบบเชิงกลยุทธ์ ภาวะผู้นำแบบที่มีความสามารถพิเศษ ภาวะผู้นำแบบให้มีส่วนร่วม และภาวะผู้นำแบบเชิงปฏิรูป
                            กองสวัสดิการสังคม เป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบดูแลเกี่ยวกับการดำเนินงาน ด้านสวัสดิภาพของเด็กเยาวชน งานสังคมสงเคราะห์ งานพัฒนาชุมชน การพัฒนาปรับปรุงชุมชนในเขตเทศบาลให้มีความเป็นระเบียบเรียบร้อย มีความอยู่ดีกินดีตามความจำเป็นพื้นฐานของประชาชน         มีผู้อำนวยการกองสวัสดิการสังคม เป็นหัวหน้าหน่วยงาน ภารกิจของส่วนราชการนี้ ลักษณะของการทำงาน เป็นงานที่ให้บริการแก่ประชาชน ดูแลในเรื่องของสวัสดิภาพความเป็นอยู่ การทำงาน       จึงเป็นในลักษณะการออกชุมชน เพื่อให้บริการแก่ประชาชน ผู้ที่ทำหน้าที่เป็นผู้นำจึงต้องมีความสามารถในการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้ดี มีความสามารถในการจูงใจให้ทีมงานนำการตัดสินใจลงสู่การปฏิบัติงานได้ เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานจะต้องเป็นผู้รู้หลักในการทำงานร่วมกับชุมชน รู้หลักในการให้บริการที่ดี รู้จักการพัฒนาตนเอง พัฒนางานให้มีความทันสมัย ทันเหตุการณ์นำไปสู่ความสำเร็จของงานได้ คุณลักษณะดังกล่าวตรงกับคุณลักษณะภาวะผู้นำแบบเชิงกลยุทธ์ ภาวะผู้นำแบบที่มีความสามารถพิเศษ ภาวะผู้นำแบบให้มีส่วนร่วม ภาวะผู้นำแบบเชิงปฏิรูป และภาวะผู้นำแบบผู้ให้บริการ
                            สาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบ ดูแลเกี่ยวกับการดำเนินงานด้านการป้องกันและระงับโรค การสุขาภิบาลและรักษาความสะอาด มีผู้อำนวยการสำนักการสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เป็นหัวหน้าหน่วยงาน การทำงานจึงเป็นในลักษณะการออกให้บริการตรวจสุขภาพ และบริการให้ความรู้แก่ประชาชนให้ปลอดภัยจากโรคติดต่อ เป็นการทำงานที่ต้องประสานสัมพันธ์กับชุมชน ผู้ที่ทำหน้าที่เป็นผู้นำจึงต้องมีความสามารถในการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้ดี มีความสามารถในการสามารถจูงใจให้ทีมงานนำการตัดสินใจลงสู่การปฏิบัติเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานจะต้องเป็นผู้รู้หลักในการให้บริการกับประชาชน รู้จักการพัฒนาตนเองให้เป็นผู้ที่มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี พัฒนาการทำงานให้ทันยุคทันเหตุการณ์ ซึ่งคุณลักษณะดังกล่าวตรงกับคุณลักษณะภาวะผู้นำแบบเชิงกลยุทธ์ ภาวะผู้นำแบบที่มีความสามารถพิเศษ ภาวะผู้นำแบบผู้ให้บริการ และภาวะผู้นำแบบเชิงปฏิรูป
                            สำนักปลัดเทศบาล เป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบดูแลเกี่ยวกับการดำเนินงาน ด้านกิจการทั่วไปของเทศบาล ได้แก่ งานบริหารงานบุคคล งานธุรการ งานทะเบียนราษฎร์ งานสภาเทศบาล งานเกี่ยวกับการเลือกตั้ง โดยมีหัวหน้าสำนักปลัดเทศบาล เป็นหัวหน้าหน่วยงาน ภารกิจของส่วนราชการนี้ การทำงานจะเป็นในลักษณะหน่วยประสานงานของทุกส่วนราชการ                   ในสำนักงานเทศบาล ทำให้การปฏิบัติงานของพนักงานในส่วนราชการนี้ต้องยึดระเบียบ               ข้อกฎหมายเป็นแนวปฏิบัติและพร้อมที่จะให้บริการในด้านเอกสารข้อมูลแก่ผู้มาติดต่อราชการ           ผู้ที่ทำหน้าที่เป็นผู้นำจึงต้องมีความกระตือรือร้นในการปฏิบัติงาน มีความสามารถในการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้ดี สามารถสร้างมาตรฐานในการบริการที่ดีได้ สามารถจัดการกลยุทธ์ได้อย่างสมดุลสอดคล้องกับปัจจัยต่าง ๆ ในองค์กร ส่วนระดับเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน จะต้องรอบรู้ในแนวทางการปฏิบัติงานทุกสถานการณ์ รู้จักพัฒนาตนเองในด้านการประสานงาน การมีมนุษยสัมพันธ์กับส่วนราชการอื่น การปรับปรุงวิธีการทำงานให้มีความคล่องตัว รวดเร็วทันเหตุการณ์ คุณลักษณะดังกล่าวตรงกับคุณลักษณะภาวะผู้นำแบบเชิงกลยุทธ์ ภาวะผู้นำแบบที่มีความสามารถพิเศษ ภาวะผู้นำที่ภาวะผู้นำแบบผู้ให้บริการ และภาวะผู้นำแบบเชิงปฏิรูป
                            กองการประปา เป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่ความรับผิดชอบ ดูแลเกี่ยวกับด้านคุณภาพชีวิตของประชาชนให้บริการน้ำสะอาด เพื่อการอุปโภค บริโภค และป้องกันอัคคีภัย ส่งเสริมให้ประชาชนใช้ทรัพยากรน้ำด้วยความประหยัดและเกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชนในท้องถิ่น การกำหนดนโยบายตามแผนงานผลิตน้ำประปา การให้บริการ การประปาของเทศบาลให้สอดคล้องกับนโยบายขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีผู้อำนวยการกองการประปาเป็นหัวหน้าหน่วยงาน ภารกิจของส่วนราชการมีลักษณะของการทำงาน เป็นงานที่ให้บริการแก่ประชาชน และต้องประสานงานกับชุมชน ผู้ปฏิบัติจะต้องศึกษาให้เข้าใจถึงแนวทางในการปฏิบัติงานการให้บริการประชาชนที่มาขอรับความช่วยเหลือในเรื่องสาธารณูปโภค ซ่อมบำรุงต่าง ๆ ต้องสามารถตัดสินใจปฏิบัติการได้อย่างถูกต้อง และเหมาะสม ผู้ที่ทำหน้าที่เป็นผู้นำ ก็จะต้องสามารถกำหนดทิศทางของการทำงานได้อย่างถูกต้อง สามารถจูงใจการตัดสินใจ ต้องรู้หลักให้บริการที่ดี ปรับปรุงการทำงานที่ทันเหตุการณ์ แก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้ คุณลักษณะดังกล่าวตรงกับคุณลักษณะภาวะผู้นำแบบเชิงกลยุทธ์ ภาวะผู้นำแบบที่มีความสามารถพิเศษ ภาวะผู้นำแบบผู้ให้บริการและภาวะผู้นำแบบเชิงปฏิรูป  
                            กองส่งเสริมวัฒนธรรมการท่องเที่ยวและกีฬา มีผู้อำนวยการกองส่งเสริมวัฒนธรรมการท่องเที่ยวและกีฬา เป็นหัวหน้าหน่วยงาน เป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่ความรับผิดชอบเกี่ยวกับการอนุรักษ์ ส่งเสริม เผยแพร่ ฟื้นฟู บำรุงรักษา วัฒนธรรม สร้างความรู้ ความเข้าใจและการตระหนัก ในคุณค่าและเอกลักษณ์ที่ดีของความเป็นไทย ส่งเสริมการสนับสนุนการให้บริการและจัดกิจกรรมด้านการกีฬา นันทนาการ พัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยว และแหล่งเรียนรู้ทางศีลปะวัฒนธรรม และประเพณีในรูปแบบต่าง ๆ โดยเน้นการมีส่วนร่วมของประชาชน ตลอดจนศึกษาวิเคราะห์ วิจัยพัฒนาและแนวทางดำเนินงาน การพัฒนาด้านกีฬา นันทนาการ ศิลปวัฒนธรรม และประเพณี คุณลักษณะดังกล่าวตรงกับคุณลักษณะ ภาวะผู้นำแบบเชิงกลยุทธ์ ภาวะผู้นำแบบที่มีความสามารถพิเศษ และภาวะผู้นำแบบเชิงปฏิรูป
                            กล่าวโดยสรุป ภารกิจกับรูปแบบภาวะผู้นำ พนักงานเทศบาลของเทศบาลนครนครปฐม มีการนำยุทธวิธีในการสร้างความเข้มแข็ง สร้างความสำเร็จให้เกิดแก่องค์กร ซึ่งเทศบาลนครปฐม มีต้นแบบที่ดีคือ ปลัดเทศบาลที่ได้มีการวางแผน การพัฒนาสร้างประสบการณ์การสร้างวิสัยทัศน์ แก่พนักงานเทศบาลนครนครปฐม จนกล่าวได้ว่าเทศบาลนครนครปฐม มีการบริหารงานที่ดี