วันพุธที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2558

ท่านที่ปรึกษาระดับสูง ด้านกฏหมาย D-HOUSE GROUP นาย อธิกิจ เจษฏาญานเมธา

ท่านที่ปรึกษาระดับสูง ด้านกฏหมายและทนายความ D-HOUSE GROUP นาย อธิกิจ เจษฏาญานเมธา
















กฏหมายสิ่งแวดล้อม




                  กฏหมายสิ่งแวดล้อมเป็นกฏหมายที่มีคุณลักษณะพิเศษกล่าวคือจะความเกี่ยวพันกับ ศาสตร์ในสาขาอื่นๆอย่างใกล้ชิด ซึ่งได้แก่ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี เศรษฐศาสตร์ สังคมศาสตร์ ฯลฯ กฏหมายสิ่งแวดล้อมจึงมีวัตถุประสงค์เพื่อคุ้มครองสิ่งแวดล้อมทุกชนิดครอบ คลุมทั้งสิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่มนุษย์สร้างขึ้น จุดมุ่งหมายที่สำคัญของสิ่งแวดล้อมของไทยคือ เพื่อคุ้มครองและสงวนรักษาไว้ซึ่งระบบนิเวศของธรรมชาติรวทั้งพลเมืองของชาติ จากกิจกรรมใดๆที่อาจมีผลกระทบต่อธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของประเทศ

พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๓๕
   พระ ราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๓๕ ถือได้ว่าเป็นกฏหมายแม่บทที่ใช้ในการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมในปัจจุบันกล่าวคือ มีบทบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับการจัดการและบำรุงรักษาสิ่งแวดล้อมอย่างรอบด้าน ครอบคลุมถึงการจัดการปัญหามลพิษทุกรูปแบบะสอดประสานกันอย่างเป็นระบบ นอกจากนี้ พระราชบัญญัติฉบับบนี้ยังได้มีการนำหลักการใหม่ๆมาใช้ในการจัดการสิ่งแวด ล้อม อาทิเช่น หลักผู้ก่อมลพิษต้องจ่าย การยอมรับบทบาทของประชาชนและองค์การพัฒนาเอกชนในการจัดการสิ่งแวดล้อม การจัดตั้งกองทุนสิ่งแวดล้อม การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม ฯลฯ รวมทั้งหลักการที่สำคัญอีกหลายประการดังที่ปรากฏในหมายเหตุท้ายพระราช บัญญัติดังกล่าว ดังนี้
      ๑) ส่งเสริมประชาชนและองค์กรเอกชนให้มีส่วนร่วมในการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม
      ๒) จัดระบบการบริหารงานด้านสิ่งแวดล้อมให้เป็นไตามหลักการจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อม
      ๓) กำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจและราชการส่วนท้องถิ่นให้เกิดการประสานงาน และมีหน้าที่ร่วมกันในการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมและกำหนดแนวทางปฏิบัติในส่วนที่ไม่มีหน่วยงานใดรับผิดชอบโดยตรง
      ๔) กำหนดมาตรการควบคุมมลพิษด้วยการจัดให้มีระบบบำบัดอากาศเสีย ระบบบำบัดน้ำเสีย ระบบกำจัดของเสีย และเครื่องมือหรืออุปกรณ์ต่างๆ เพื่อแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับมลพิษ
      ๕) กำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบของผู้ที่เกี่ยวข้องกับการทำให้เกิดมลพิษให้เป็นไปโดยชัดเจน
      ๖) กำหนดให้มีมาตรการส่งเสริมด้านกองทุนและความช่วยเหลือด้านต่างๆ เพื่อเป็นการจูงใจให้มีการยอมรับที่จะปฏิบัติหน้าที่ในการรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้

ความรับผิดในคดีสิ่งแวดล้อม

ความรับผิดทางแพ่ง
    ใน การเรียกร้องค่าเสียหายทางแพ่งโดยทั่วไปนั้น ผู้เสียหายจะต้องพิสูจน์ให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างการกระทำกับความเสีย หายที่ได้รับว่ามีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันหรือไม่อน่างไรซึ่งเป็นแนวคิด จากทฤษฎีที่ว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างเหตุและผล ทฤษฎีนี้ได้ใช้พิสูจน์ความรับผิดทางละเมิดโดยพิจารณาถึงเงื่อนไขและความ เหมาะสมชองเหตุและผลของการกระทำนั้นเป็นส่วนประกอบ ซึ่งเป็นหน้าที่ของผู้เสียหายที่จะต้องพิสูจน์ให้ได้ว่าข้อกล่าวอ้างของตน เป็นความจริงและความเสียหายที่ได้รับเป็นผลโดยตรงจากการกระทำโดยจงใจหรือ ประมาทเลินเล่อของจำเลยในคดีนั้น ซึ่งในคดีสิ่งแวดล้อมการที่จะพิสูจน์ให้ได้ครบองค์ประกอบเช่นนั้นถือเป็น ภาระและความยากลำบากอย่างยิ่ง

ความรับผิดทางอาญา
มาตรา การลงโทษทางอาญาแก่ผู้กระทำผิดในคดีสิ่งแวดล้อมนั้นจะมีวัตถุประสงค์ที่แตก ต่างออกไปตามลักษณะของโทษ กล่าวคือ โทษประหารชีวิตและจำคุกมีวัตถุประสงค์ที่จะตัดโอกาสผู้กระทำความผิดออกไปจาก สังคมมิให้มีโอกาสได้กระทำผิดเช่นนั้นอีก รวมทั้งเพื่อป้องปราบและยับยั้งบุคคลอื่นมิให้กล้าที่จะกระทำความผิดเช่น เดียวกันนั้น ส่วนการริบทรัพย์สินนั้นจะมีวัตถุประสงค์เป็นการป้องกันและตัดโอกาสผู้กระทำ ผิดที่จะใช้อุปกรณ์และเครื่องมือเหล่านั้นในการกระทำความผิด กล่าวโดยรวมแล้วจะเห็นได้ว่าวัตถุประสงค์ของการลงโทษผู้กระทำความผิดในคดี สิ่งแวดล้อมนั้นจะมีลักษณะเป็นการป้องกันโดยการยับยั้งผู้กระทำความผิดให้ เกิดความเกรงกลัวและตัดโอกาสมิให้ได้รับความสะดวกที่จะกระทำความผิด เนื่องจากสิ่งแวดล้อมหากถูกทำลายไปแล้วไม่อาจฟื้นฟูให้กลับคืนสู่สภาพที่ดี ดังเดิมได้ ดังนั้นดารป้องกันปัญหาจึงเป็นมาตรการที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพมากที่สุด
ความรับผิดทางปกครอง
มาตรการ ทางปกครอง ได้แก่ ระบบทะเบียนและระบบการอนุญาตดำเนินการต่างๆโดยเฉพาะอย่างยิ่งในสาขาของสิ่ง แวดล้อมและอุตสาหกรรม มาตรการทางปกครองเพื่อการคุ้มครองความเสียหายทางสิ่งแวดล้อมเหล่านี้ได้มี การดำเนินการภายใต้การควบคุมขององค์กรเฉพาะที่มีอำนาจในระดับท้องถิ่น ระดับภูมิภาค และในระดับชาติ โดยทีการจัดองค์กรและรูปแบบการดำเนินงานที่แตกต่างกันๆไป โดยที่ในบางประเทศจะดำเนินการโดยองค์กรเฉพาะด้านสิ่งแวดล้อมจากส่วนกลางควบ คุมทุกภาคส่วนของสิ่งแวดล้อมและกิจกรรมทางอุตสาหกรรมในท้องถิ่น 

_____________________________________________________________________________________________

อ้างอิง
อุดมศักดิ์ สินธิพงษ์. กฎหมายว่าด้วยความเสียหายทางสิ่งแวดล้อม. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อุดมศักดิ์ สินธิพงษ์. กฎหมายเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์วิญญูชน.





วันอังคารที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2558

บาป อำเภอพรหมพิราม ที่จารึกในสารคดี ภาพยนต์ นิยาย วันนี้ มาที่ จ.ตาก (พรหมพิราม 2)

อำเภอพรหมพิราม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อำเภอพรหมพิราม
แผนที่จังหวัดพิษณุโลก เน้นอำเภอพรหมพิราม
พรหมพิรามเมืองพระ วังมะสระพระเครื่อง ลือเลื่องทุ่งสาน ชลประทานเขื่อนนเรศวร หลากล้วนมังคละดนตรี
ข้อมูลทั่วไป
อักษรไทย อำเภอพรหมพิราม
อักษรโรมัน Amphoe Phrom Phiram
จังหวัด พิษณุโลก
รหัสทางภูมิศาสตร์ 6506
รหัสไปรษณีย์ 65150
ข้อมูลสถิติ
พื้นที่ 832.67 ตร.กม.
ประชากร 87,864 คน (พ.ศ. 2557)
ความหนาแน่น 105.52 คน/ตร.กม.
ที่ว่าการอำเภอ
ที่ตั้ง ที่ว่าการอำเภอพรหมพิราม ถนนพรหมวิถี ตำบลพรหมพิราม อำเภอพรหมพิราม จังหวัดพิษณุโลก 65150
พิกัด 17°2′0″N 100°12′6″E
หมายเลขโทรศัพท์ 0 5536 9005, 0 5536 9451
หมายเลขโทรสาร 0 5536 9005, 0 5536 9451

สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย
อำเภอพรหมพิราม เป็น 1 ใน 9 อำเภอของจังหวัดพิษณุโลก

ที่ตั้งและอาณาเขต

อำเภอพรหมพิรามห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 30 กิโลเมตร ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียง ดังนี้

การแบ่งเขตการปกครอง

การปกครองส่วนภูมิภาค

อำเภอพรหมพิรามแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 12 ตำบล 120 หมู่บ้าน ได้แก่
1. พรหมพิราม
(Phrom Phiram)
15 หมู่บ้าน

7. ตลุกเทียม
(Taluk Thiam)
8 หมู่บ้าน
2. ท่าช้าง
(Tha Chang)
13 หมู่บ้าน

8. วังวน
(Wang Won)
10 หมู่บ้าน
3. วงฆ้อง
(Wong Khong)
11 หมู่บ้าน

9. หนองแขม
(Nong Khaem)
10 หมู่บ้าน
4. มะตูม
(Matum)
6 หมู่บ้าน

10. มะต้อง
(Matong)
11 หมู่บ้าน
5. หอกลอง
(Ho Klong)
7 หมู่บ้าน

11. ทับยายเชียง
(Thap Yai Chiang)
6 หมู่บ้าน
6. ศรีภิรมย์
(Si Phirom)
12 หมู่บ้าน

12. ดงประคำ
(Dong Prakham)
11 หมู่บ้าน

การปกครองส่วนท้องถิ่น

ท้องที่อำเภอพรหมพิรามประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 14 แห่ง ได้แก่
  • เทศบาลตำบลพรหมพิราม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลพรหมพิราม (เฉพาะบางส่วนของหมู่ที่ 1, 2 และ 12)
  • เทศบาลตำบลวงฆ้อง ครอบคลุมพื้นที่ของตำบลวงฆ้อง (เฉพาะหมู่ที่ 1 และบางส่วนของหมู่ที่ 6) และตำบลมะต้อง (เฉพาะบางส่วนของหมู่ที่ 6)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลพรหมพิราม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลพรหมพิราม (นอกเขตเทศบาลตำบลพรหมพิราม)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลท่าช้าง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลท่าช้างทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลวงฆ้อง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลวงฆ้อง (นอกเขตเทศบาลตำบลวงฆ้อง)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลมะตูม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลมะตูม
  • องค์การบริหารส่วนตำบลหอกลอง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหอกลองทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลศรีภิรมย์ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลศรีภิรมย์ทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลตลุกเทียม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลตลุกเทียมทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลวังวน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลวังวนทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลหนองแขม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองแขมทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลมะต้อง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลมะต้องทั้งตำบล (นอกเขตเทศบาลตำบลวงฆ้อง)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลทับยายเชียง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลทับยายเชียงทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลดงประคำ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลดงประคำทั้งตำบล

จังหวัดตาก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สำหรับตาก ในความหมายอื่น ดูที่ ตาก (แก้ความกำกวม)
จังหวัดตาก
ตราประจำจังหวัดตาก
ตราประจำจังหวัด
ธรรมชาติน่ายล ภูมิพลเขื่อนใหญ่ พระเจ้าตากเกรียงไกร เมืองไม้และป่างาม
ข้อมูลทั่วไป
ชื่ออักษรไทย ตาก
ชื่ออักษรโรมัน Tak
ผู้ว่าราชการ นายสมชัยฐ์ หทยะตันย์ติ
(ตั้งแต่ พ.ศ. 2557)
ISO 3166-2 TH-63
ต้นไม้ประจำจังหวัด แดง
ดอกไม้ประจำจังหวัด เสี้ยวดอกขาว
ข้อมูลสถิติ
พื้นที่ 16,406.650 ตร.กม.[1]
(อันดับที่ 4)
ประชากร 539,553 คน[2] (พ.ศ. 2557)
(อันดับที่ 46)
ความหนาแน่น 32.89 คน/ตร.กม.
(อันดับที่ 76)
ศูนย์ราชการ
ที่ตั้ง ศาลากลางจังหวัดตาก ถนนพหลโยธิน ตำบลหนองหลวง อำเภอเมืองตาก จังหวัดตาก 63000
โทรศัพท์ (+66) 0 5551 2092
โทรสาร (+66) 0 5551 1503
เว็บไซต์ จังหวัดตาก
แผนที่
 
แผนที่ประเทศไทย เน้นจังหวัดตาก

สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย
จังหวัดตาก (คำเมือง: ᨲᩣ᩠ᨠ) เป็นจังหวัดในภาคตะวันตกหรือบางแห่งจัดอยู่ในภาคเหนือตอนล่างของไทย มีพื้นที่มากเป็นอันดับ 4 ของประเทศ แต่มีประชากรเบาบางที่สุดเป็นอันดับ 2 ของประเทศ นับเป็นจังหวัดชายแดนที่สำคัญอีกจังหวัดหนึ่งของไทย มีประวัติศาสตร์เก่าแก่นับแต่สมัยกรุงสุโขทัย ทั้งยังมีแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติและวัฒนธรรมที่งดงามหลายแห่งด้วย นอกจากนี้จังหวัดตากยังเป็นจังหวัดที่มีอาณาเขตติดต่อจังหวัดอื่น ๆ มากที่สุดในประเทศไทย โดยมีอาณาเขตติดต่อถึง 9 จังหวัด

ประวัติศาสตร์

เมืองตากในอดีตเป็นเมืองที่มีชาวมอญอยู่มาก่อน ดังมี หลักฐานศิลปมอญปรากฏอยู่ที่อำเภอบ้านตาก มีประวัติความเป็นมาเก่าแก่ และเป็นหนึ่งในหัวเมืองที่มีอายุขัยเกินกว่าสองพันปีขึ้นไป เมื่อมีการอพยพของชนชาติไทยจากลุ่มน้ำแยงซีเกียงตอนใต้ ลงมาตามแนวลำน้ำดง (ลำน้ำสาละวิน) มีพวกหนึ่งได้ข้ามลำน้ำสาละวิน ผ่านลุ่มน้ำเมยหรือแม่น้ำต่องยินเข้ามาทางช่องเขาด้านอำเภอแม่สอดและมาถึงบริเวณที่ปัจจุบันเรียกว่า “เมืองตาก”
ผู้นำกลุ่มคนไทยที่อพยพมาตั้งถิ่นฐานที่เมืองตากในยุคนั้น ได้ตั้งตนเป็นกษัตริย์ปกครองสืบทอดต่อเนื่องกันมาจนถึงปี พ.ศ. 560 รัชสมัยพระเจ้าสักดำ ซึ่งเป็นกษัตริย์เมืองตากที่ยิ่งใหญ่มาก มีอาณาเขตที่อยู่ในอำนาจแผ่ไปจนจรดทะเลอันดามันดังมีบันทึกในพงศาวดารเหนือกล่าวว่าในรัชสมัยพระเจ้าสักดำนั้นเมืองตากมีการค้าขายกับเมืองอินเดียด้วย
เมืองตากคงจะเสื่อมลงในช่วงพุทธศตวรรษที่ 10 พระยากาฬวรรณดิสผู้เป็นกษัตริย์เมืองตากที่อพยพมาจาก ตอนใต้ของลุ่มแม่น้ำแยงซีเกียง ได้โยกย้ายไปสร้างราชธานีขึ้นใหม่ที่เมืองละโว้ทางตอนใต้ของเมืองตากลงไปอีก
มีบางยุคเมืองตากถูกทอดทิ้ง กลายเป็นเมืองร้างดังในพงศาวดารเหนือได้ กล่าวถึงการเสด็จทางชลมารคของพระนางจามเทวี พระราชธิดากษัตริย์ละโว้ (ระยากาฬวรรณดิส) เพื่อไปปกครองแคว้นหริภุญไชย (ลำพูน) ในราว พ.ศ. 1176 โดยทาง ลำน้ำปิง พระนางจามเทวีขึ้นไปสำรวจบนฝั่งแม่น้ำพบร่องรอยกำแพงเมืองเก่าๆ ถูกทิ้งร้าง จึงโปรดให้สร้างเป็นบ้านเมืองใหม่ชื่อว่า “เมืองตาก”
ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 1805 ขุนสามชนเจ้าเมืองฉอดได้ยกทัพ มาประชิดเมืองตาก ซึ่งเป็นเมืองชายแดนของกรุงสุโขทัย พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ทรง จัดกองทัพออกไปรบ โดยมีพระราชโอรสองค์เล็กซึ่งมีพระชนมายุได้ 19 พรรษา ติดตามไปด้วย กองทัพ ทั้งสองฝ่ายปะทะกันที่บริเวณเชิงดอยนอกเมืองตากประมาณกิโลเมตรเศษ ราชโอรสองค์เล็กได้ทรงชนช้าง กับขุนสามชนกระทำยุทธหัตถีกัน ขุนสามชนสู้ไม่ได้แตกพ่ายไป ต่อมาภายหลังทรงพระนามว่า “พ่อขุนรามคำแหงมหาราช” และได้โปรดสร้างเจดีย์ขึ้นเป็นที่ระลึกถึงชัยชนะในการทำยุทธหัตถีครั้งนั้น องค์หนึ่งเป็นศิลปแบบสุโขทัย ซึ่งเจดีย์ยุทธหัตถีนี้อยู่ที่วัดพระบรมธาตุ อำเภอบ้านตาก ห่างจากตัวเมืองไปทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำปิงราว 31 กิโลเมตร
ต่อมาในแผ่นดินมหาธรรมราชา ได้ย้ายเมืองตากลงมาทางตอนใต้ตามลำน้ำปิง ไปตั้งอยู่ที่ป่ามะม่วง ฝั่งตะวันตก ของแม่น้ำปิง ซึ่งอยู่ในเขตตำบลป่ามะม่วง อำเภอเมืองตากในปัจจุบัน
เมืองตากที่ย้ายมาตั้งใหม่นี้มิใช่เมืองหน้าด่าน สำหรับป้องกันกองทัพพม่าที่จะยกเข้ามาทางด่านแม่ละเมาเท่านั้น แต่ยังเป็นเมืองที่กองทัพไทยใช้เป็นที่ชุมนุมพลในเวลา ที่จะยกทัพไปตีเมืองเชียงใหม่อีกด้วย ในรัชสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช สมเด็จพระนารายณ์มหาราช และสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีได้เสด็จมาชุมนุมกองทัพที่เมืองตากนี้ทุกพระองค์
โดยเฉพาะสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ก่อนที่พระองค์จะขึ้นครองราชสมบัตินั้น พระองค์ได้รับแต่งตั้งจากสมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อัมรินทร์ ให้เป็นข้าหลวงเชิญท้องตราราชสีห์ ไปชำระความหัวเมืองฝ่ายเหนือและต่อมาได้รับการแต่งตั้งเป็นหลวงยกกระบัตร เมืองตาก ปลัดเมืองตาก พระยาวชิรปราการแล้วปราบดาภิเษกขึ้นเป็นพระเจ้าแผ่นดินโดยลำดับ
กล่าวโดยสรุป จังหวัดตากเป็นจังหวัดที่มีความเป็นมาในประวัติศาสตร์ ควรค่าแก่การสนใจ เป็นเมืองที่พระมหากษัตริย์ในอดีตได้เสด็จมาชุมนุมกองทัพที่เมืองตากนี้แล้วถึง 4 พระองค์ คือ พ่อขุนรามคำแหงมหาราชทรงชนช้างกับขุนสามชนเจ้าเมืองฉอด สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงประกาศอิสรภาพ ณ เมืองแครง และทรงยกทัพกลับราชอาณาจักรไทยโดยผ่านดินแดนเมืองตากเป็นแห่งแรก สมเด็จพระนารายณ์มหาราชทรงนำทัพไปตีหัวเมืองฝ่ายเหนือ และได้สร้างวัดพระนารายณ์ที่เชิงสะพานกิตติขจรปัจจุบัน และสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีเคยได้รับพระบรมราชโองการแต่งตั้งเป็นเจ้าเมืองตาก และเป็นผู้กอบกู้เอกราชของชาติไทยจากพม่า ครั้งที่ 2

อาณาเขตติดต่อ

ตามภูมิศาสตร์ที่ตั้ง จังหวัดตากเป็นจังหวัดที่อยู่ในภาคตะวันตก มีพื้นที่ติดต่อกับจังหวัดอื่น ๆ มากที่สุดในประเทศไทย ประกอบด้วย 9 จังหวัด ดังนี้
พื้นที่ส่วนใหญ่ของจังหวัดเป็นป่าไม้และภูเขาสูง โดยเฉพาะพื้นที่ทางด้านตะวันตกของจังหวัด

หน่วยการปกครอง

อำเภอ

การปกครองแบ่งออกเป็น 9 อำเภอ 63 ตำบล 493 หมู่บ้าน
  1. อำเภอเมืองตาก
  2. อำเภอบ้านตาก
  3. อำเภอสามเงา
  4. อำเภอแม่ระมาด
  5. อำเภอท่าสองยาง
  6. อำเภอแม่สอด
  7. อำเภอพบพระ
  8. อำเภออุ้มผาง
  9. อำเภอวังเจ้า

แผนที่

เทศบาล

อำเภอเมืองตาก
อำเภอบ้านตาก
อำเภอสามเงา
อำเภอแม่ระมาด
อำเภอท่าสองยาว
อำเภอแม่สอด
อำเภอพบพระ
อำเภออุ้มผาง
อำเภอวังเจ้า

สถานที่ท่องเที่ยว

การศึกษา

ระดับอุดมศึกษา

โครงการจัดตั้ง
  • มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์แม่สอด โครงการจัดตั้งร่วมของเทศบาลนครแม่สอดและมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยการสนับสนุนทุนวิจัยขั้นต้นจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)
  • มหาวิทยาลัยแม่สอด โครงการจัดตั้งของเทศบาลนครแม่สอด

สถาบันอาชีวศึกษา

ระดับต่ำกว่าอุดมศึกษา

สัญลักษณ์ประจำจังหวัด

ชาวตากที่มีชื่อเสียง

อ้างอิง

  1. ศูนย์สารสนเทศเพื่อการบริหารและงานปกครอง. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ข้อมูลการปกครอง." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.dopa.go.th/padmic/jungwad76/jungwad76.htm [ม.ป.ป.]. สืบค้น 18 เมษายน 2553.
  2. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2557." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.bora.dopa.go.th/stat/pk/pk_57.pdf 2558. สืบค้น 1 มีนาคม 2558.

ดูเพิ่ม

แหล่งข้อมูลอื่น

พิกัดภูมิศาสตร์: 16.88°N 99.13°E